Page 184 - kpiebook67020
P. 184
183
บทเรียน วิกฤตสังคมยังถูกมองเป็นแม้กระทั่งจุดคานงัดที่ท�าให้คนในสังคมตื่นตัว
และบอกว่าต้องมีการแก้ไขปัญหาเรื่องนั้น ๆ ได้แล้ว ส่วนจะคาดการณ์ป้องกันแก้ไข
เป็นอย่างไรนั้น ควรมีการศึกษาวิจัยที่น�าไปสู่การค้นหาค�าตอบ
การจัดการกับวิกฤตสังคม
ภาวะวิกฤตโดยทั่วไปอาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับพื้นที่ (Local) เช่น
การตาย การฆ่าตัวตาย ประเด็นสุขภาพ อุบัติเหตุ การรุกล�้า การกระท�าความรุนแรง
หรืออาชญากรรมในชุมชน ส่วนอีกระดับหนึ่งอยู่สูงกว่าคือระดับโลก (Global) ได้แก่
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การก่อการร้าย หรือการเสียชีวิตของประชากรโลกในภาพใหญ่
(Thrimurthulu, 2016) ซึ่งหากเป็นวิกฤตสังคมตามการศึกษาครั้งนี้คงต้องพิจารณา
ขอบเขตวิกฤตที่เป็นภาพใหญ่ กระทบต่อการด�ารงชีวิตของคนส่วนใหญ่ในประเทศ
หากจะจัดการกับวิกฤตสังคม คงต้องค้นหาว่าวิกฤตสังคมเกิดจากอะไร
และใครเป็นผู้ท�าให้เกิด จากการแบ่งที่ทางวิกฤตสังคมที่พบในเนื้อหาข้างต้น เห็นได้ว่า
วิกฤตสังคมเกิดได้จากหลายสาเหตุและจากหลายภาคส่วน แต่จะเห็นได้ว่าก่อนเกิด
วิกฤตจะต้องมีเหตุการณ์ที่เรียกว่ากระบวนสังคม (Societalization) คือ กระบวน
ที่มีสัญญาณหนุนน�าให้สาธารณะเปลี่ยนเบนความสนใจจากเรื่องราวระดับสถาบัน
(Institional) เป็นระดับพลเมืองทั้งหมด (Civil whole) เมื่อความสนใจสาธารณะ
เปลี่ยนไปดังนั้นแล้วก็จะไปสู่วิกฤตสังคมและมีการใช้ทรัพยากรมากมายเพื่อการนั้น
(Alexander, 2019, p.8)
เมื่อจุดเริ่มเกิดขึ้นก็จะมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ผสมผสานตามมา เช่น การให้ข้อมูล
ข่าวสาร การสร้างความหวาดกลัว การแทรกแซง ฯลฯ (Alexander, 2019, p.8;
Suntana & Tresnawaty, 2021) เมื่อสัญญาณที่น�าไปสู่กระบวนสังคมเกิดขึ้นแล้ว