Page 180 - kpiebook67020
P. 180
179
วิกฤตสังคมในฐานะเป็นบริบทเพื่อใช้ศึกษาปรากฏการณ์
วิกฤตสังคมถูกน�ามากล่าวถึงในฐานะที่เป็นบริบทแวดล้อมของเรื่องที่นักวิชาการ
หรือผู้คนสนใจ ยกตัวอย่าง เช่น การศึกษามุมมองแนวคิดของกวีอย่าง อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่ใช้กวีนิพนธ์เพื่อเป็นเครื่องมือสนองต่อภาวะปัญหาและการสื่อสารเรื่องนิพพาน
ท่ามกลางสภาวะที่มีวิกฤตการณ์ทางสังคม (กอบกาญจน์ ภิญโญมารค, 2012)
ตัวอย่าง การศึกษาการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อรับข้อมูล แสดงอารมณ์ และ
ความคิดและเชื่อมต่อกับผู้อื่นในช่วงวิกฤตสังคม ที่พบว่ามีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
เพื่อรับข้อมูล ซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลในช่วงวิกฤตสังคมยังท�าให้เกิดความไม่แน่นอน
และมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดอย่างรวดเร็ว ผู้คนแสดงความคิดเห็นโดยรวมน้อยลง
และมีความสุดโต่งมากขึ้นบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ไม่ระบุตัวตน (Koohikamali
& Gerhart, 2018)
การศึกษาบทบาทของสื่อดิจิทัลต่อการรวมกลุ่มทางสังคมในช่วงวิกฤตสังคม
ในช่วงการระบาดของโควิดปลาย และศึกษาปฏิกิริยาทางสังคมที่มีต่อสื่อดิจิทัล
เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในบริบทของวิกฤต การแพร่ระบาดโรคโควิด พบว่า ในช่วงเวลา
ที่เกิดวิกฤตสังคม การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลกลายเป็นสิ่งส�าคัญอย่างยิ่ง การเป็นพลเมืองดิจิทัล
ก่อให้เกิดความเข้าใจและการควบคุมทางสังคมได้ (Milenkova & Lendzhova, 2021)
วิกฤตสังคมในฐานะเป็นประเด็น (Subject) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์
การศึกษาหลายเรื่อง วิกฤตการณ์ทางสังคมถูกศึกษาหรือเป็นประเด็นที่ถูก
น�ามาใช้เสียเอง ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งปันข้อมูลวิกฤตสังคม
ผ่านโปรแกรม WeChat ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยม
มากที่สุดในโลก และระบุปัจจัยกระตุ้นที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแบ่งปันข้อมูล