Page 185 - kpiebook67020
P. 185

184  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        จนเกิดเป็นปัญหาสังคม ก็จะท�าให้เกิดวิกฤต คือสถานการณ์เกิดขึ้นผิดแผกไปจาก
        ภาวะปกติ แล้วเมื่อนั้นรากฐานทางจริยธรรมและสถาบันของสังคมก็จะคลอนแคลน

        เป็นอันตรายจนเกิดความหวาดกลัวที่ไม่อาจควบคุมได้ ความที่วิกฤตสังคมและกระบวน
        สังคมกว้างมาก จึงไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่าใครท�าให้เกิดวิกฤตสังคม โดยนักวิชาการ

        บางท่านกล่าวว่าการแบ่งแยกวัฒนธรรม การแบ่งแยกทางองค์กรท�าให้เกิดกระบวน
        สังคม อันน�าพาไปสู่วิกฤตสังคม (Alexander, 2019, p.9) ขณะที่บางท่านเห็นว่า

        การสร้างความหวาดกลัว การใช้จิตวิทยา การสั่งสมของโครงสร้างปัญหา การขาดทุน
        ทางสังคมวัฒนธรรม (พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฺฑฒโน และคณะ, 2561, น.291-292;

        ศรีสุดา มีช�านาญ และ สมชาย ลักขณานุรักษ์, 2010, น.270; Suntana & Tresnawaty,
        2021) น�าไปสู่วิกฤตสังคมได้


               การจัดการกับวิกฤตโดยทั่วไปแล้วเป็นปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยให้
        สังคมสามารถจัดการกับวิกฤตได้ทันท่วงที เพราะวิกฤตอาจเป็นเหตการณ์ที่เกิดขึ้น

        ทันทีทันใดที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ หรือเป็นผลจากเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่ง
        การจัดการวิกฤตสังคม จึงควรเป็นไปเพื่อหยุดวิกฤตนั้นให้เร็วที่สุดเพื่อให้สังคม

        มีความปลอดภัย เป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐหรือสังคมหรือองค์กรมีความสามารถ
        ที่จะยับยั้งวิกฤตได้ การจัดการวิกฤตยังช่วยควบคุมการไหลบ่าของข้อมูล และเป็นไป

        เพื่อให้มีการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Thrimurthulu, 2016)


               การจัดการกับวิกฤตสังคมจึงต้องให้หลายภาคส่วนได้ร่วมกันระบุว่าอะไรคือ
        จุดสนใจหรือวิฤตสังคม อะไรคือสัญญาณหรือจุดเริ่มต้นที่แท้จริง จากนั้นมาร่วมกัน
        พิจารณาว่าในกระบวนสังคมเกิดอะไรที่เป็นปัจจัยเร่งที่น�าไปสู่วิกฤตบ้าง แล้วจึงหา

        แนวทางว่าจะจัดการกับวิกฤตสังคมเหล่านั้นอย่างไร ซึ่งในขั้นตอนการหาแนวทาง

        เพื่อไปสู่การจัดการวิกฤตนั้น Thrimurthulu (2016, p.38) เสนอแนวทางจัดการ
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190