Page 182 - kpiebook67020
P. 182

181




           ถือเป็นวิกฤตสังคมที่ส่งผลต่อเนื่องจากภาคการเงิน จนส่งผลกระทบโดยตรงต่อ

           คุณภาพชีวิตของประชาชน จนก่อให้เกิดหลายปัญหาขึ้น เช่น การว่างงาน ความยากจน
           การศึกษา โสเภณี เด็กเร่ร่อน ยาเสพติด การหย่าร้าง ฯลฯ (ศรีสุดา มีช�านาญ
           และ สมชาย ลักขณานุรักษ์, 2010, น.270)


                  หรือการศึกษาของ Cantillon พบว่า การปิดโรงเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด

           เป็นเวลานาน กระทบต่อเด็กในครอบครัวที่ยากจน เพราะการเปิดเรียนในโรงเรียน
           จะช่วยเด็กให้พ้นจากภาวะทุพโภชนาการได้ หากจะต้องมีการเปิดเรียนเป็นเวลานาน

           รัฐจะต้องมีมาตรการให้เงินช่วยเหลือเพื่อป้องกันเด็กจากภาวะความยากจนเหล่านี้
           มิฉะนั้น สถานการณ์วิกฤตทางสุขภาพในวันนี้อาจจะกลายเป็นวิกฤตสังคมในอนาคต

           ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อเนื่องที่ยาวนานกับเด็กในครอบครัวที่มีรายได้ต�่า (Cantillon
           et al., 2017)


                  วิกฤตสังคมในฐานะเป็นหลักหมุดที่น�าไปสู่การแก้ไขปัญหา

                  ดังความหมายที่กล่าวไปตอนต้น วิกฤตสังคม เป็นสถานการณ์ที่คนในสังคม

           รู้สึกถึงอันตรายและความไม่ปลอดภัย จึงเป็นที่มาให้วิกฤตสังคมถูกใช้เป็นเงื่อนไข
           ในการน�าไปสู่การแก้ไขปัญหา ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาเพื่อใช้หลักสาธารณสุข

           ของพุทธศาสนาแก้ไขวิกฤตสังคมกรณีโควิด มีการน�าเสนอภาวะผู้น�าเชิงพุทธ
           ในการแก้ไขปัญหาโรคระบาดในสมัยพุทธกาลและในอดีต และเปรียบเทียบบทบาท

           และภาวะผู้น�าของพระสงฆ์ในการแก้ไขปัญหาโรคระบาดในปัจจุบัน (พระมหาไพจิตร
           อุตฺตมธมฺโม และพระมหาทศพร สุมุทุโก, 2563)


                  การศึกษาเกี่ยวกับโรคกลัวอิสลาม (Islamophobia) ที่พบว่า วิกฤตการณ์
           ทางการเมืองเศรษฐกิจและการสื่อสารมวลชน ล้วนมีผลกระทบส�าคัญต่อปรากฏการณ์
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187