Page 186 - kpiebook67020
P. 186

185




           วิกฤตทั่วไปในองค์กรที่อาจปรับใช้ในการจัดการวิกฤตสังคมในภาพกว้างได้ ได้แก่
           1) อาจมีการวางแผนโดยรายละเอียดเพื่อรับมือกับวิกฤตสังคมให้มากที่สุด 2) มีการตั้ง

           หน่วยหรือระบบติดตามเพื่อตรวจพบหรือค้นหาสัญญาณของวิกฤตตั้งแต่เริ่มต้น
           เพื่อจะควบคุมกระบวนสังคมได้ ตลอดจนเป็นหน่วยบันทึกตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึง

           ประเมินวิกฤตสังคม 3) รวบรวมทุกภาคส่วนให้มากที่สุดเพื่อร่วมกันวางแผน
           ด�าเนินการให้ข้อมูล ติดตาม และประเมินผลในการจัดการวิกฤตสังคม




           2.2 Consociational Democracy: ประชาธิปไตยแบบ
           แบ่งปันอ�านาจ


                  “ประชาธิปไตย” ในความหมายอย่างง่ายที่สุด คือการปกครองโดยเสียงส่วนมาก
           และคุ้มครองสิทธิของเสียงส่วนน้อยในสังคม ผู้ชนะเสียงข้างมากถือว่าได้รับฉันทานุมัติ

           จากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอ�านาจอธิปไตยให้เข้ามาจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ
           ส่วนผู้แพ้เสียงข้างน้อยก็ต้องท�าหน้าที่ตรวจสอบการท�าหน้าที่ของฝ่ายเสียงข้างมากไป

           แต่ประชาธิปไตยไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว ในสังคมที่มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียว
           (Homogeneous) มีความแตกต่างกันน้อย กฎกติกาประชาธิปไตยเช่นนี้เป็นที่ยอมรับ

           กันได้ แต่ในสังคมที่มีความแตกแยกสูง (deeply divided societies) ที่แตกต่างกัน
           ทั้งในด้านภาษา ศาสนา วัฒนธรรม หรืออุดมการณ์ทางการเมือง มีประชาธิปไตย

           อีกรูปแบบหนึ่งที่อาจจะเหมาะสมกับสังคมแบบนี้มากกว่าจะเป็นประชาธิปไตย
           แบบเสียงข้างมาก (Majoritarianism) ที่ผู้ชนะได้ทุกอย่างไปหมด (winner takes all)

           ส่วนผู้แพ้ไม่ได้อะไรเลย มีประชาธิปไตยรูปแบบหนึ่งที่เอื้อให้กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมสามารถ
           แข่งขันกันและไม่มีใครที่ชนะอย่างเด็ดขาด และแพ้อย่างขาดลอย ประชาธิปไตยที่เอื้อ

           ให้ทุกกลุ่มมีตัวแทนของตนเองในสัดส่วนคะแนนที่ตนเองได้รับ ประชาธิปไตยรูปแบบนี้
           เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบร่วมมือ” (Consociational Democracy)
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191