Page 190 - kpiebook67020
P. 190
189
กลุ่มสังคมนิยมและกลุ่มคาทอลิกก่อนการจัดตั้งรัฐบาล ในเบลเยียมนั้นเคยเป็นข้อตกลง
ที่ไม่เป็นทางการระหว่างกลุ่มคาทอลิก, สังคมนิยม และเสรีนิยม ก่อนที่ในปี 1970
จะมีการบัญญัติเรื่องนี้ให้เป็นทางการในรัฐธรรมนูญว่า “กฎหมายที่กระทบต่อวัฒนธรรม
และการศึกษาของกลุ่มภาษาสามารถผ่านได้ก็ต่อเมื่อเสียงส่วนมากของ ส.ส. ในรัฐสภา
ทั้งกลุ่มพูดภาษาดัตช์และภาษาฝรั่งเศสเห็นชอบ” (Lijphart, 1977)
3. ความเป็นสัดส่วน (Proportionality)
หลักการความเป็นสัดส่วน เกี่ยวข้องกับเรื่องการตัดสินใจจัดสรรปันส่วน
(allocation) ผลประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม ในสังคมที่มีความแตกแยกสูง การตัดสินใจ
จัดสรรผลประโยชน์ไม่อาจวางอยู่บนฐานแบบ “ผู้ชนะกินรวบ” (winner-take-all)
เหมือนดังเช่นในสังคมที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ทั้งนี้ เพราะว่าในสังคมที่มี
ความแตกแยกสูงมักไม่มีกลุ่มใดที่ผูกขาดความเป็นเสียงส่วนมากได้อย่างเด็ดขาด
ในสังคม เมื่อมีผู้ได้รับผลประโยชน์ที่หลากหลาย การจัดสรรผลประโยชน์ต้องกระท�า
โดยยึดหลักการความเป็นสัดส่วนอย่างส�าคัญ ผลประโยชน์นี้ เช่น การแต่งตั้งข้าราชการ,
การจัดสรรงบประมาณ เป็นต้น โดยต้องกระจายไปตามสัดส่วนของกลุ่มต่าง ๆ
ในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน (Lijphart, 1977) หลักการความเป็นสัดส่วนจึงสัมพันธ์
กับ “การเป็นตัวแทน” (Representation) ในรัฐสภา ดังนั้น กลไกที่จะท�าให้มี
ตัวแทนเพื่อการจัดสรรผลประโยชน์ คือ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional
Representation: PR) ที่เอื้อให้พรรคการเมืองของแต่ละกลุ่มสามารถแข่งขันและ
สะท้อนการเป็นตัวแทนของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างแท้จริง (Farrell, 2011: 64-92)
ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบบัญชีรายชื่อ (Party List)
ที่ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งก็มีทั้งแบบที่เป็นบัญชีรายชื่อแบบปิด (Closed List)
ที่พรรคการเมืองจัดท�าขึ้นมา และแบบเปิด (Open List) ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถ