Page 195 - kpiebook67020
P. 195
194 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
3. การยอมรับหลักการปกครองโดยกลุ่มชนชั้นน�า (Widespread
approval of the principle of government by elite cartel) กล่าวคือ
ชนชั้นน�าสามารถประนีประนอมตกลงกันได้ในเรื่องการเมืองการปกครอง (Tradition
of Accommodation) และคนในสังคมต่างยอมรับในหลักการนี้ (Lijphart, 1969)
หลังจากปี 1969 Lijphart ก็ได้ท�าการศึกษาอีกหลายครั้งจากหลายกรณีศึกษา
ซึ่งมีรายละเอียดเงื่อนไขที่เอื้อต่อประชาธิปไตยแบบร่วมมือ สามารถสรุปได้ 8 ประเด็น
ได้แก่ 1) ความเป็นอิสระของชุมชนทางชาติพันธุ์ (Segmental isolation of ethnic
communities) 2) การถ่วงดุลอ�านาจระหว่างกลุ่มที่หลากหลาย (A multiple
balance of power) 3) ภัยคุกคามจากภายนอก (The presence of external threats
common to all communities) 4) ความภักดีต่อรัฐ (Overarching loyalties
to the state) 5) การประสานประโยชน์ระหว่างกลุ่มชนชั้นน�า (A tradition of elite
accommodation) 6) ความเสมอภาคในทางสังคมเศรษฐกิจ (Socioeconomic
equality) 7) จ�านวนประชากรน้อย (A small population size) ซึ่งจะลดภาระ
ในทางนโยบาย และ 8) ระบบหลายพรรคการเมืองระดับกลางที่แต่กลุ่มมีพรรค
เป็นตัวแทนของตน (A moderate multi-party system with segmental parties)
(Bogaards, 1998; Kerr, 2006) แต่ทั้งนี้ การจะเป็นประชาธิปไตยแบบร่วมมือ
ไม่จ�าเป็นต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนตามนี้ เพราะในกรณีอินเดีย ภายหลังจากได้รับ
เอกราชจากอังกฤษจนถึงปี 1960 ประชาธิปไตยแบบร่วมมือก็สามารถท�างานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ทั้งที่อินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมาก และมีความเหลื่อมล�้าสูง
แต่ชนชั้นน�าระหว่างกลุ่มต่าง ๆ สามารถประสานประโยชน์ แบ่งปันอ�านาจกันได้
อย่างลงตัว จึงท�าให้การเมืองอินเดียมีเสถียรภาพ ระงับข้อขัดแย้งในช่วงเวลาหนึ่งได้
(Lijphart, 1996)