Page 196 - kpiebook67020
P. 196

195




                   นอกเหนือจากงานที่ Lijphart ศึกษา ก็มีงานของนักวิชาการคนอื่นที่ศึกษา
           และเสนอเงื่อนไขที่เอื้อต่อประชาธิปไตยแบบร่วมมือ ในงานของ McGarry และ O’Leary

           ซึ่งศึกษาความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ เขาอธิบายว่าเงื่อนไขที่จะท�าให้ประชาธิปไตย
           แบบร่วมมือท�างานได้ มี 3 ประการ ประการแรก ชนชั้นน�าต้องมีแรงจูงใจที่จะเข้าไป

           มีส่วนการก�ากับและควบคุมความขัดแย้ง, ชนชั้นน�าต้องได้รับการยอมรับ และต้อง
           มีการถ่วงดุลอ�านาจระหว่างกันที่หลากหลาย และสิ่งส�าคัญ คือ กลุ่มทางวัฒนธรรม

           แต่ละกลุ่มต้องมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ ไม่มีความแตกแยก (McGarry & O’Leary,
           1995) ส่วน Kerr ซึ่งเป็นผู้ศึกษาบทบาทของตัวแสดงภายนอกในการเมืองแบบแบ่งปัน

           อ�านาจในไอร์แลนด์เหนือและเลบานอน ได้เสนอเพิ่มเติมจากเงื่อนไขของ McGarry
           และ O’Leary ว่าต้องมีแรงกดดันในการควบคุมความขัดแย้งจากตัวแสดงภายนอกรัฐ

           ซึ่งจะท�าให้กระตุ้นให้ชนชั้นน�าภายในต้องยอมรับและสนับสนุนประชาธิปไตยแบบ
           ร่วมมือ (Kerr, 2006)

           บทวิเคราะห์: ประชาธิปไตยแบบร่วมมือแก้ไขความขัดแย้งได้หรือ?


                  ในความเห็นของผู้เขียน ประชาธิปไตยแบบร่วมมือเป็นวิธีการหนึ่งที่ท�าให้

           ทุกกลุ่มในสังคมที่มีความแตกแยกสูงมีพื้นที่ของตนเองทั้งในทางการเมืองและ
           ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะพื้นที่ในทางการเมือง การท�าให้ทุกกลุ่มสามารถมีส่วนร่วม

           ในพื้นที่ตรงนี้ได้ ก็จะเป็นการก�ากับและควบคุม (regulate) ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์
           ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ได้ด้วยกฎกติกาประชาธิปไตย เป็นการเปลี่ยนรูป

           ความขัดแย้ง (conflict transformation) ในสังคม จากในอดีตในบางประเทศ
           ที่เกิดสงครามภายในระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ให้มาเป็นความขัดแย้งแบบสร้างสรรค์ คือ

           กลุ่มต่าง ๆ อยู่ร่วมกันได้ในสังคมได้ แทนที่จะขัดแย้งและใช้ความรุนแรงเข้าต่อสู้กัน
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201