Page 183 - kpiebook67020
P. 183

182  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        การล่วงละเมิดทางศาสนาในรูปแบบของโรคกลัวอิสลามที่มีอิทธิพลแตกต่างกันไป

        การแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเริ่มจาก
        การแก้วิกฤตสังคมในหลายมิติ เพราะเป็นอาการทางจิตวิทยาของสังคมที่ซับซ้อน
        ซึ่งเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางอ�านาจและการครอบง�าทางเศรษฐกิจ (Suntana &

        Tresnawaty, 2021)


               หรือตัวอย่างการเปรียบเทียบนโยบายสังคมของกรีก ทั้งก่อนและหลัง
        วิกฤตเศรษฐกิจ พบว่า รัฐสวัสดิการของกรีกไม่พร้อมที่จะต่อสู้กับความยากจนและ

        การกีดกันทางสังคมก่อนที่จะเกิดวิกฤต พอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ นโยบายสังคม
        จึงถือเป็นสิ่งส�าคัญรองลงมา ท�าให้งบประมาณในการต่อสู้กับความยากจนและ

        การกีดกันทางสังคมถูกตัดลงอย่างมาก รัฐเองก็ยังคงเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผลประโยชน์
        บางกลุ่ม ท�าให้เกิดวิกฤตทางสังคมอย่างหนักที่กรีกต้องเผชิญ ขณะที่นโยบายทางสังคม

        เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้กลับสวนทางกัน (Sotiropoulos, 2018)

               สรุปได้ว่า วิกฤตสังคม คือ รูปแบบเหตุการณ์ทางสังคมที่มีความแตกต่างจาก

        สถานการณ์ปกติ เป็นสถานการณ์ที่การด�าเนินชีวิตของผู้คนในสังคมอยู่ในภาวะอันตราย
        และรู้สึกถึงความไม่แน่นอน โดยสภาพความขัดแย้งนั้นอาจยังคงอยู่และยังไม่ได้

        มีการจัดการ หรืออาจยังคงอยู่แต่ก็สามารถจัดการได้ด้วยข้อตกลงร่วมกัน หากต้องการ
        ให้เห็นรูปธรรมชัดเจนของวิกฤตสังคมให้ชัดเจนมากขึ้น ก็อธิบายได้ว่า วิกฤตสังคม

        อาจเป็นได้ทั้งเหตุและผล กล่าวคือ หากมองวิกฤตสังคมเป็นเหตุก็รับรู้ได้ว่าสิ่งนั้น
        ส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ยาวนาน หยั่งลึก หากมองเป็นผลก็ให้รู้ว่าวิกฤตสังคม

        เกิดมาจากหลายเหตุ ซับซ้อน และทับถมมายาวนานเช่นกัน หากมองเป็นบริบทแวดล้อม
        ที่ท�าให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ วิกฤตสังคมจะมีลักษณะคล้ายเป็นเหตุแต่ก็ยังไม่ใช่

        ปัจจัยหลักที่ท�าให้เกิดเรื่องราว หากมองเป็นประเด็นศึกษาวิกฤตสังคมก็จะถูกใช้เป็น
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188