Page 178 - kpiebook67020
P. 178
177
การศึกษานี้ ให้ความส�าคัญกับการคาดการณ์ปลายทางว่า “วิกฤตการณ์
ในสังคมไทย” จะเป็นอย่างไร เมื่อคาดการณ์ได้แล้วว่าจะเป็นอย่างไร เราจะมีวิธีการ
ป้องกันไม่ให้วิกฤตเหล่านั้นเกิดขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร เพราะหากพิจารณาความหมาย
เฉพาะค�าว่าวิกฤต คงไม่มีสังคมใดต้องการให้เกิดขึ้น
หากจะควบรวมความหมายของค�าว่าวิกฤตสังคม ได้มีผู้พยายามค้นหา
ความหมายของค�าว่าวิกฤตการณ์ในสังคมไทย (สมชัย บวรกิตติ และคณะ, 2564)
โดยอ้างอิงพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ว่าสังคมหมายถึงกลุ่มคนจ�านวนหนึ่ง
ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบกฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ส�าคัญร่วมกัน
ส่วนวิกฤต หมายถึงระดับขั้นอันตรายที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อหรือถึงขั้นแตกหัก
วิกฤตสังคม จึงอาจมีความหมายว่าเป็นรูปแบบการด�าเนินชีวิตของคนในสังคมที่อยู่
ในขั้นอันตรายอันเป็นผลจากการกระท�า เป็นวิกฤตที่จะขัดขวางวิถีทางสังคม
ของแต่ละคน (สมชัย บวรกิตติ และคณะ, 2564; Thrimurthulu, 2016) ได้แก่
ภาวะถดถอย สงคราม การก่อการร้าย (Thrimurthulu, 2016)
การสรุปความหมายของค�าว่าวิกฤตสังคมในส่วนนี้จึงขอสรุปได้ว่า สถานการณ์
ที่การด�าเนินชีวิตของผู้คนในสังคมอยู่ในภาวะอันตราย เป็นรูปแบบที่มีความแตกต่าง
จากสถานการณ์ปกติ และอาจมีสภาพที่ความขัดแย้งนั้นยังคงอยู่และยังไม่ได้มีการจัดการ
กับสถานการณ์นั้น หรืออาจมีสภาพที่ความไม่ลงรอยกันนั้น ได้มีการท�าความตกลงกัน
ซึ่งหากเกิดวิกฤตสังคมแล้วจะน�าไปสู่การตัดสินใจที่เป็นจุดเปลี่ยน แล้วอาจท�าให้เกิด
ผลที่ดีขึ้นหรือแย่ลงจากเดิม อย่างไรก็ดี หากพิจารณาการใช้วิกฤตการณ์ทางสังคม
ในเชิงวิชาการ จะพบว่าความหมายของมันยิ่งไร้ขอบเขต ดังน�าเสนอต่อไปนี้