Page 177 - kpiebook67020
P. 177
176 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
2.1 วิกฤตสังคม (Social crisis)
ความหมายของวิกฤตสังคม
ค�าว่าวิกฤต มักถูกใช้ควบคู่กับค�าว่าฉุกเฉิน ดังนั้น เมื่อค้นหาความหมาย
จึงมักปรากฏค�าว่าวิกฤตในเนื้อหาที่ว่าด้วยเรื่องสุขภาพ เหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติ
เช่น การให้ความหมายว่าวิกฤตสังคมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติซึ่งเป็นอันตราย
ต่อระเบียบทางสังคมปกติและความมั่นคง น�ามาซึ่งความล้มเหลวของการท�าหน้าที่
กลไกทางสังคมสาธารณะ (Xu et al., 2016)
หากพิจารณาความหมายเฉพาะค�าว่า วิกฤต (Crisis) จะหมายถึง สถานการณ์
ตึงเครียด สถานการณ์ที่มีระบบอยู่ แต่สมาชิกในสังคมรู้สึกล้มเหลวต่อความคาดหวัง
ในชีวิต เป็นสภาวะที่รู้สึกถึงอันตรายไม่มั่นคงทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
หรือระหว่างประเทศ มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของคนในสังคมในแบบที่เป็นอันตราย
(Quarantelli & Dynes, 1977; Thrimurthulu, 2016) ขณะเดียวกันวิกฤต
อันเป็นสถานการณ์ที่เป็นผลของเหตุการณ์ต่าง ๆ แล้วอาจน�าไปสู่อนาคตที่ดีกว่าหรือ
แย่ลงก็ได้ เรียกว่าเป็นจุดเปลี่ยน และน�าไปสู่การตัดสินใจ (Thrimurthulu, 2016)
ประเภทของวิกฤต อาจแบ่งเป็นแบบไม่ลงรอย (Dissensus-type crises) ได้แก่ สถานการณ์
ที่มีความขัดแย้งทางความเห็นอย่างรุนแรงจากสถานการณ์ปกติ มีอะไรที่น�ามาซึ่ง
ความขัดแย้งนั้นและจะแก้ปัญหาอย่างไร กับแบบลงรอย (Consensus-type crises)
ได้แก่ วิกฤตที่มีความตกลงกันเกี่ยวกับความหมายของสถานการณ์ บรรทัดฐานและ
คุณค่าที่เหมาะสมและมีการล�าดับความส�าคัญของเรื่องต้องปฏิบัติตาม (Quarantelli
& Dynes, 1977)