Page 172 - kpiebook67020
P. 172
171
ร่วมกัน และท�าให้เห็นความต้องการของแต่ละฝ่ายได้มากขึ้น โดยมองเห็นความเป็น
มนุษย์ของทั้งสองฝ่าย ละวางความเป็นศัตรู แต่ไม่ใช่การหาหนทางไปสู่การประนีประนอม
หรือบังคับให้อีกฝ่ายยอม หากแต่เป็นการสร้างบรรยากาศแห่งทางเลือกให้ทุกฝ่าย
พึงพอใจ เป็นส่วนหนึ่งของการจะเริ่มต้นกระบวนการปรองดองสมานฉันท์และ
การจะให้ความปรองดองสมานฉันท์นั้นเป็นไปอย่างยั่งยืน สังคมจะต้องมีความเข้าใจ
ร่วมกันถึงบริบทของกรณีนั้น ๆ ตลอดจนเพื่อที่จะสามารถแปรเปลี่ยนให้เงื่อนไข
ที่อาจท�าให้เกิดภาวะวิกฤตกลับกลายเป็นพลังในการพัฒนาสังคมประเทศต่อไปได้
1.2 วัตถุประสงค์
1. ศึกษากรณีวิกฤตสังคมที่เกิดขึ้นแล้ว
2. ศึกษาปัจจัยที่ท�าให้เกิดวิกฤตสังคมในประเทศไทย
3. เพื่อศึกษาวิจัยแนวทางการป้องกันวิกฤตสังคม
4. เสนอแนะนโยบายเพื่อป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
1.3 นิยามศัพท์
วิกฤตสังคม (Social crisis) หมายถึง ภาวะที่การด�าเนินชีวิตของผู้คน
ในสังคมอยู่ในภาวะอันตราย เป็นรูปแบบที่มีความแตกต่างจากสถานการณ์ปกติ
หากเกิดวิกฤตสังคมแล้วจะน�าไปสู่การตัดสินใจหรือเหตุการณ์หรือการด�าเนินการ
ที่เป็นจุดเปลี่ยน แล้วอาจท�าให้เกิดผลที่ดีขึ้นหรือแย่ลงจากเดิมก็ได้