Page 171 - kpiebook67020
P. 171

170  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        ที่หยั่งลึกที่รากเหง้า การเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิกฤตที่ยั่งยืนแท้จริงแล้วคือ การแปลงเปลี่ยน
        ที่รากเหง้าความขัดแย้งเพื่อลดความรุนแรง เช่น เปลี่ยนโครงสร้างวัฒนธรรมบางอย่าง

        ที่เป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้ง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด มุมมอง และบางครั้งจ�าเป็น
        ต้องเปลี่ยนโครงสร้างอ�านาจสังคมให้ได้สมดุล และรวมไปจนถึงการค�านึงถึงหลักนิติรัฐ

        นิติธรรมที่ตั้งมั่นอยู่ในหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องเที่ยงธรรม

               สถาบันพระปกเกล้าเป็นสถาบันทางวิชาการภายใต้ก�ากับของรัฐสภา ซึ่งมีบทบาท

        ส�าคัญในการศึกษาวิจัยทางด้านการเมืองการปกครอง การศึกษาวิจัยการแก้ไขปัญหา
        ความขัดแย้งด้วยสันติวิธีและธรรมาภิบาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาเครื่องมือ

        และกระบวนการค้นหาแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ปรองดองผ่านงานวิจัย
        การออกแบบการสร้างอนาคตประเทศไทย ซึ่งเป็นกระบวนการน�าไปสู่การหาฉันทามติ

        ได้มีการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือโดยแนวทาง
        สันติวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมภายในอนาคต การแสวงหาทางออก

        ในการแก้ไขปัญหาโดยใช้ข้อมูลเชิงวิชาการ การถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาทั้งในและ
        ต่างประเทศ ด้วยการศึกษากระบวนการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางสังคม เป็นทางเลือกใหม่

        ที่พยายามคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยปราศจากการใช้ความรุนแรงในสถานการณ์
        วิกฤต ด้วยการเพิ่มการเรียนรู้ระหว่างคนที่เห็นต่างกันให้มากขึ้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาการใช้

        ความรุนแรงต้องใช้การแก้ปัญหาโดยการเพิ่มการเรียนรู้ และยอมรับความคิดเห็นต่างกัน
        (Tolerance) ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมขึ้นในอนาคต


               ดังนั้น การศึกษาในประเด็นความขัดแย้งอันจะน�าไปสู่วิกฤตสังคมจึงมี
        ความส�าคัญเพื่อเป็นแนวทางในการเปิดพื้นที่ทางสังคมให้เกิดการหาแนวทางป้องกัน

        ภาวะวิกฤตและเป็นการเปิดพื้นที่สื่อสารท�าความเข้าใจแบบมีคุณภาพ และให้โอกาส

        ภาคส่วนต่าง ๆ ได้พัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกัน โดยผ่านกระบวนการก�าหนดทิศทาง
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176