Page 60 - kpiebook67011
P. 60

59







                  การพัฒนาทฤษฎีทางการเมืองของเธอด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากพิจารณาตามนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าส�าหรับ

                  อาเรนดท์ผู้ซึ่งนิยมในแนวทางของอริสโตเติลย่อมต้องมองว่าพื้นที่ทางการเมืองที่ไม่เปิดโอกาสให้มีเสรีภาพ
                  ย่อมไม่ใช่พื้นที่ทางการเมืองเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ถ้อยค�าถูกเก็บกักและลดทอนไว้ และในขณะเดียวกัน

                  มันก็ย่อมสะท้อนให้เห็นได้ว่าในพื้นที่ที่ขาดเสรีภาพเช่นนี้ ความเสมอภาคก็หาใช่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เช่นกัน


                          การก�าเนิดขึ้นของสิ่งที่เรียกว่าสังคม ในลักษณะของการเป็น “กิจกรรมของแม่บ้าน” ภายในรัฐ
                  เกิดขึ้นจากการที่กิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นเดิมในพื้นที่ครัวเรือนได้ยกย้ายออกมาสู่พื้นที่ที่มองเห็นได้
                                   99
                  อย่างพื้นที่สาธารณะ  38 อันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกสมัยใหม่และไม่เพียงได้ท�าให้ขอบเขตที่เคยแบ่งแยกกัน
                  อย่างชัดเจนระหว่างพื้นที่ส่วนตัวอย่างพื้นที่ครัวเรือนและพื้นที่สาธารณะอย่างพื้นที่ทางการเมืองนั้น

                  เลือนหายไป หากแต่ก็ท�าให้ขอบเขตทางสังคมและขอบเขตทางการเมืองเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกออก
                                                100
                  จากกันได้เด็ดขาดด้วยเช่นเดียวกัน  อาเรนดท์มองว่าการก�าเนิดของขอบเขตทางสังคม (social realm)
                  อันถือก�าเนิดจากวิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์การเมืองในโลกสมัยใหม่นี้เป็นสิ่งที่ท�าให้พื้นที่สาธารณะ

                  (Public sphere) แต่เดิมซึ่งเป็นพื้นที่ของการเมืองกลายเป็นพื้นที่ของการจัดการครัวเรือนที่ขยายใหญ่

                  ขึ้นมาในระดับรัฐ ในแง่นี้ ครัวเรือนเดิมจึงไม่ได้สามารถรักษาหรือผูกขาดการเป็นหน่วยของการผลิต
                  และการตอบสนองต่อความจ�าเป็นของมนุษย์ได้ดังเช่นในสมัยยุคก่อนหน้า เช่นเดียวกับที่กิจกรรมอย่าง
                  การเมืองซึ่งควรเป็นกิจกรรมที่โดดเด่นของพื้นที่สาธารณะก็ถูกลดทอนบทบาทลงไปเป็นเพียงหน้าที่ของ

                  สังคมแต่เพียงเท่านั้น 101


                          ไม่เพียงแค่นั้น การถือก�าเนิดของขอบเขตทางสังคมยังเปลี่ยนแปลงซึ่งความหมายของค�าว่า

                  “ส่วนตัว” และ “พื้นที่ส่วนตัว” ไปอย่างสิ้นเชิง เพราะมันได้เปลี่ยนความหมายจากการเป็นพื้นที่อันมี
                  การกีดกัน (deprivation) จากความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบไปสู่พื้นที่ของความคุ้นเคยใกล้ชิด (intimacy)
                  นอกจากนี้มันยังท�าการดูดซับ “ครอบครัว” เข้าไปเป็น “กลุ่มทางสังคม” โดยการมองว่าสังคมคือครอบครัว

                  ขนาดใหญ่ที่สมาชิกในสังคมต่างก็เหมือนกับผู้คนในครอบครัวเดียวกัน ในแง่นี้การก�าเนิดของสังคม

                  ในรัฐสมัยใหม่จึงเป็นสิ่งที่ไม่ได้ไปไกลหรือแตกต่างอันใดจากทฤษฎีของการก�าเนิดรัฐของอริสโตเติล
                  ที่มองว่ารูปแบบการปกครองในรูปแบบกษัตริย์หรือทรราชย์ เพียงแต่มีการเปลี่ยนรูปแบบจากการปกครอง
                  โดยราชวงศ์ไปสู่การปกครองในแบบที่ไม่ได้มีผู้ใดปกครอง (no-man rule) ส�าหรับอาเรนดท์แล้ว ตัวอย่าง

                  ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดและถือเป็นที่สุดของรูปแบบการปกครองในรูปแบบทางสังคมเช่นนี้ก็คือการปกครอง

                  ด้วยระบบราชการ ระบบซึ่งครอบคลุมไปในทุกภาคส่วนและมีล�าดับชั้นที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง ระบบที่แม้ว่า
                  จะไม่ได้มีผู้ใดเข้าปกครองอย่างชัดเจนก็ไม่ได้หมายความว่าไร้ซึ่งการปกครองและในหลายกรณีก็แสดงให้
                  เห็นแล้วว่าเป็นรูปแบบของการปกครองที่โหดร้ายและเป็นรูปแบบของการปกครองที่ไม่ต่างอะไรกับการ

                  ปกครองแบบทรราชย์





                  99   Ibid., 38.
                  100  Ibid., 33.

                  101   Ibid.
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65