Page 57 - kpiebook67011
P. 57

56      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์






             4.2 ความแตกต่างและความสับสนระหว่างกรอบคิด


             เรื่องการเมืองและสังคม




                      ส�าหรับอาเรนดท์แล้วค�าว่าสังคมและการเมืองเป็นเรื่องที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน และ
             การท�าความเข้าใจเรื่องความแตกต่างของสังคมและการเมืองเป็นสิ่งที่ส�าคัญมากในการท�าความเข้าใจ

             เกี่ยวกับแนวคิดทางการเมืองของเธอ ส�าหรับชาวกรีกโบราณ การแยกออกจากกันอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
             ระหว่างพื้นที่ครัวเรือนและพื้นที่สาธารณะ คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างพื้นที่ทางสังคม

             และพื้นที่ทางการเมืองอย่างชัดแจ้ง ครัวเรือนเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสังคมของมนุษย์เพื่อตอบสนอง
             ต่อการด�ารงชีพให้อยู่รอดโดยการใช้หลักการของการพึงพาอาศัยกัน การขยายตัวของครัวเรือนไปสู่

             การเป็นตระกูลใหญ่ ก่อนที่จะกลายไปเป็นหมู่บ้าน หรือเมืองที่ปกครองโดยหัวหน้าเผ่าหรือกษัตริย์
             เป็นเพียงรูปแบบของการเติบโตในเชิงปริมาณของชุมชนทางการเมืองแบบที่เรียกว่าสังคม หากแต่ยังไม่ได้

             ก้าวเข้าสู่ชุมชนทางการเมืองแบบใหม่ในพื้นที่สาธารณะที่เรียกว่ารัฐ การเมืองจึงเป็นพื้นที่ในอีกรูปแบบ
             ที่มนุษย์ต่างต้องยอมละทิ้งความเบ็ดเสร็จของอ�านาจเด็ดขาดในมือและความแน่นอนในชีวิตให้ก้าวเข้าสู่

             พื้นที่ที่มีแต่ความไม่แน่นอนและการแย่งชิงความโดดเด่นกันในหมู่ของผู้คนที่ล้วนเสมอภาค จากการเป็น
             เจ้านายที่มีอ�านาจเด็ดขาดในครัวเรือน (despotes) ไปสู่การเป็นพลเมือง (demos) ที่เท่ากันเพื่อปฏิสัมพันธ์

             ในทางการเมืองด้วยกัน มนุษย์ละทิ้งจากการรวมกลุ่มทางสังคมอันมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการช่วยเหลือ
             พึ่งพาอาศัยกัน ไปสู่การปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองอันมีจุดมุ่งหมายที่สูงส่งกว่า ค�าว่าสัตว์การเมืองของ

             อริสโตเติลจึงมีความหมายที่แตกต่างไปจากค�าว่าสัตว์สังคมอย่างที่ใช้กันโดยทั่วไป และส�าหรับอาเรนดท์แล้ว
             การเป็นสัตว์การเมืองนี้เองที่เป็นคุณลักษณะอันโดดเด่นที่มีอยู่แต่เพียงเฉพาะในมนุษย์ ในขณะที่การเป็น

             สัตว์สังคมไม่ได้ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากสัตว์


                      ส�าหรับอริสโตเติล ค�าว่าสัตว์การเมืองหรือ zoon politikon ( ζωον πολιτικον) หมายถึง
             สัตว์ที่มีศักยภาพในการรวมกลุ่มทางการเมืองอันเป็นการรวมกลุ่มหรือสร้างชุมชนในระดับที่เหนือขึ้นไป

             จากสังคม เป้าหมายของการเมืองในความคิดของอริสโตเติลคือการสร้างชุมชนทางการเมืองที่ช่วยพัฒนา
             ศักยภาพของมนุษย์ให้มุ่งเข้าสู่ความสมบูรณ์แบบของตนโดยผ่านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและการใช้ภาษา

             กล่าวอีกนัยหนึ่ง ส�าหรับอริสโตเติลแล้ว การเมืองอันเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในรัฐมีความแตกต่างไปจาก
             กิจกรรมอื่นๆอันเกิดนอกพื้นที่รัฐอย่างเทียบกันไม่ได้ ส�าหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสที่จะเข้าสู่พื้นที่ทางการเมือง

             ไม่ว่าจะด้วยสถานะทางสังคมหรือเพศสภาพก็ตาม จึงถือว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ได้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
             ในแง่นี้สังคมกรีกโบราณจึงไม่นับรวม เด็ก สตรี และทาสอันมีพื้นที่หลักอยู่เพียงพื้นที่ทางสังคมอย่าง

             ครัวเรือนและชุมชนที่ถูกปกครองโดยผู้ที่มีอ�านาจเหนือกว่าให้เป็นมนุษย์ที่บรรลุซึ่งความสมบูรณ์แบบแล้ว
             ดังเช่นที่พลเมืองเพศชายที่มีเสรีสามารถเข้าร่วมในพื้นที่สาธารณะอย่างนครรัฐได้ฐานะของมนุษย์

             ที่เท่าเทียมกัน
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62