Page 53 - kpiebook67011
P. 53

52      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







                      ในแง่นี้ หากความจ�าเป็นคือเอกลักษณะแห่งแรงงาน ความเป็นเครื่องมือหรือวิธีการก็คือ

             เอกลักษณะของกิจกรรมที่เรียกว่างานดุจเดียวกันนั้น การก�าเนิดขึ้นของงานจึงเป็นสิ่งที่มีทั้งเป้าหมาย
             ที่ก�าหนดไว้ก่อนและมีทั้งแบบวิธีการเพื่อให้บรรลุได้ซึ่งเป้าหมายนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้คุณค่าของงานจึงอยู่ที่

             ผลผลิตหรือตัววัตถุประดิษฐ์ว่าเป็นไปตามเป้าประสงค์ที่ก�าหนดไว้ก่อนแล้วหรือไม่ วัตถุจึงเป็นสิ่งที่ถูกเชิดชู
             ในโลกของการผลิตแบบงานในฐานะของเครื่องมือที่ใช้ในการบรรลุเป้าหมายที่ถูกออกแบบไว้แล้วก่อนหน้า

                     การแสดงตน (action)



                      สภาพเงื่อนไขแบบสุดท้ายที่อาเรนดท์เห็นว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ในปัจจุบันก�าลังด�ารงอยู่คือ
                                                      88
             เงื่อนไขของความเป็นพหุลักษณ์ (plurality)   กล่าวคือเธอเห็นว่ามนุษย์ล้วนเกิดขึ้นท่ามกลางผู้อื่น
             และด�ารงอยู่ร่วมกับผู้อื่นเสมอ มนุษย์จึงไม่สามารถที่จะอยู่อย่างเป็นเอกเทศหรืออยู่ล�าพังด้วยตัวเองได้

             ความจ�าเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นนี้หาใช่เพียงแค่ความจ�าเป็นในเชิงกายภาพ หากพิจารณาในแบบวิธีคิด
             ของอริสโตเติล ความต้องการเชิงกายภาพไม่ใช่เงื่อนไขเดียวที่ท�าให้มนุษย์จ�าต้องรวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน
             การอยู่ด้วยกันในสังคมการเมืองเป็นเงื่อนไขส�าคัญที่ท�าให้มนุษย์พัฒนาสติปัญญาได้เต็มสมบูรณ์จนบรรลุ

             “ธรรมชาติ” ของความเป็นมนุษย์ได้ด้วย ส�าหรับอาเรนดท์แล้ว แม้เธอจะไม่เชื่อเรื่องของ “ธรรมชาติ

             ของมนุษย์” เช่นดังอริสโตเติล หากแต่เธอมองว่าความเป็นสังคมการเมืองที่มนุษย์ล้วนต้องอยู่ด้วยกันนี้
             ก็เป็นสภาพเงื่อนไขพื้นฐานของมนุษย์ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพทางด้านจิตใจที่เหมาะสม
             กับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ผู้อื่นในสังคมได้เช่นเดียวกัน และนั่นเป็นสิ่งที่เธอน�าไปใช้และอธิบาย

             แนวคิดที่เกี่ยวเนื่องกับศีลธรรมในภายหลัง


                      สภาพเงื่อนไขที่เรียกว่าพหุลักษณ์นี้ก่อให้เกิดสายสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันโดย
             ไม่ได้มีวัตถุหรือเป้าหมายใดมาเชื่อมโยง กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนสายสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ที่มีต่อกัน

             โดยไม่ต้องมีวัตถุใด ๆ มาเชื่อมโยงนี้อาเรนดท์เรียกมันว่า การแสดงตน หรือ action ส�าหรับอาเรนดท์แล้ว
             กิจกรรมดังกล่าวนี้เกี่ยวพันกับสิ่งที่เธอเรียกว่าการเมืองมากที่สุด เนื่องจากความเป็นพหุลักษณ์นี้ไม่เพียง

             แต่เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ (conditio sine qua non) ส�าหรับชีวิตทางการเมืองหากแต่ยังเป็นเงื่อนไขจ�าเป็น
             ที่เป็นเหตุซึ่งน�ามาสู่รูปแบบและลักษณะของชีวิตในทางการเมือง (conditio per quam) ในตัวมันเองด้วย  89



















             88   Ibid., 175.
             89   Ibid., 7.
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58