Page 49 - kpiebook67011
P. 49

48      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







             เบ็ดเสร็จนิยม ดังนั้นตามที่ได้กล่าวไป ประชาธิปไตยจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากความเป็น

             การเมืองที่ยึดโยงให้มนุษย์นั้นมีพันธะและมีปฏิสัมพันธ์กันในการเมือง การท�าความเข้าใจประชาธิปไตย
             ของอาเรนดท์จึงต้องท�าความเข้าใจต่อสภาวะมนุษย์ โดยเฉพาะการแสดงตน จึงมีความส�าคัญ


                      Vita Activa มาจากภาษาละตินในยุคกลาง ซึ่ง Vita หมายถึงชีวิต และ Activa แปลว่า

             กิจกรรม Vita Activa จึงไม่ได้เป็นเพียงความหมาย หรือเป็นภาพสะท้อนของชีวิตมนุษย์ทุก ๆ คน
             แต่เป็น “เงื่อนไข” ที่มนุษย์จะต้องพบเจอเมื่อมีชีวิตอยู่ ผ่านกิจกรรมพื้นฐานสามอย่างของมนุษย์ คือ
                                             80
             แรงงาน ผลงาน และการแสดงตน

                      แรงงาน หรือ labour นั้นหมายถึงกระบวนการทางชีววิทยาของร่างกายมนุษย์ กิจกรรม

             ที่เกี่ยวข้องกับการท�าให้ชีวิตด�ารงอยู่ได้ทั้งหมดนั้นคือแรงงาน ซึ่งเงื่อนไขของแรงงานนั้นก็คือชีวิตนั่นเอง


                      ผลงาน หรือ work คือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากการมีอยู่ของมนุษย์ ร่วมถึงการกระท�าของมนุษย์
             จึงกลายเป็นโลกที่ถูกสร้างขึ้นจากสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ธรรมชาติ “โลก” เสมือนนี้ จึงเป็นผลงานที่ถูกสร้าง

             โดยมนุษย์ สรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวปัจเจกจึงเป็นผลงานทั้งสิ้น กล่าวคือ ผลงานไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้น
             ตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นและประกอบกันเป็นโลก ที่มีบริบทเฉพาะหนึ่ง ๆ


                      การแสดงตน หรือ action ที่ไม่ได้แปลว่า “การกระท�า” เพราะเกรงว่าความหมายจะไม่ตรงกับ

             สิ่งที่อาเรนดท์เสนอ ประกอบกับมีผู้แปล action เป็นภาษาไทยไว้ก่อนแล้ว ซึ่งให้ความหมายได้ตรงประเด็น
             (พิศาล 2561) การแสดงตนนั้นเป็นกิจกรรมเดียวที่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

             กับมนุษย์คนอื่น เป็นเงื่อนไขของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก ซึ่งชีวิตมนุษย์ ที่อาศัยอยู่ในโลก
             และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และเกี่ยวข้องกับการเมืองด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง การแสดงตน

             จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีชีวิตอยู่ท่ามกลางมนุษย์คนอื่น ๆ การมีจ�านวนที่มากมาย (plurality)
             ของมนุษย์ในทางหนึ่ง จึงเป็นการบ่งบอกว่ามนุษย์นั้นมีความเหมือนที่เป็นประเภทเดียวกัน เช่น มีร่างกาย

             มีชีวิต มีศักยภาพ หรือมีการผลิต แต่ในทางกลับกัน การเป็นมนุษย์นั้นไม่ใครเหมือนกันในเชิงปัจเจก
             แต่ละคนมีวิถีชีวิตที่แตกต่าง มนุษย์คนหนึ่งจึงไม่เหมือนกับคนที่เคยอยู่ ก�าลังอยู่ หรือจะมีชีวิตอยู่ในอนาคต


                      ทั้งสามนั้นมีความส�าคัญในการเข้าใจสภาวะของมนุษย์ที่มีเงื่อนไขในการที่มนุษย์นั้น ได้เข้ามา

             อาศัยอยู่ภายใต้บริบทของสังคมหรือ “โลก” หนึ่ง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าเงื่อนไขก็ต่างกัน สภาวะของมนุษย์นั้น
             ก็ต่างกัน ดังนั้นมนุษย์จึงมีความแตกต่างหลากหลาย (multiplicity) ในแต่ละคน ส่งผลให้กิจกรรมนั้น

             แตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งกิจกรรมทั้งสามนั้นก็มีความแตกต่างกันในแง่ที่ แรงงานกับผลงานนั้น สามารถ
             เกิดขึ้นได้โดยที่มนุษย์นั้น ไม่ต้องมีมนุษย์คนอื่นมาเกี่ยวข้อง เพราะเป็นกิจกรรมที่สามารถท�าได้ด้วยตัวเอง

             ไม่ว่าจะเป็นการรักษาชีวิตให้ด�ารงอยู่ หรือการสร้าง ผลิต หรือเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบที่มีอยู่ในธรรมชาติ
             ให้เป็นสิ่งอื่นได้ แต่การแสดงตนนั้น เป็นกิจกรรมที่ต้องการการมีอยู่ของคนอื่น ๆ จึงจะท�าให้การแสดงตนนั้น



             80   Ibid. 7–9.
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54