Page 52 - kpiebook67011
P. 52
51
ไแรงงาน (labour)
ในสภาพการณ์ปัจจุบันที่มนุษย์ถือก�าเนิดมานี้ อาเรนดท์มองว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นบนเงื่อนไข
ของชีวิตสามประการอันได้แก่ หนึ่งเงื่อนไขของกระบวนการทางชีวภาพของร่างกาย สองเงื่อนไขของ
ความเป็นโลกวัตถุ และสามเงื่อนไขของความเป็นพหุลักษณ์ของมนุษย์ ส�าหรับเงื่อนไขแรกนั้น อาเรนดท์
อธิบายว่ามันคือเงื่อนไขทางชีวภาพของร่างกายของมนุษย์เองอย่างการเติบโต กระบวนการเมตาบอลิซึม
หรือการผุพังเสื่อมถอยของร่างกาย การเกิดและการตายคือขอบเขตของเงื่อนไขดังกล่าวนี้ การด�ารงอยู่
86
ของร่างกายจึงเป็นทั้งเป้าหมายและเงื่อนไขของตัวมันเอง ภายใต้ขอบเขตเงื่อนไขนี้ มนุษย์จึงกระท�า
กิจกรรมบางประเภทที่อาเรนดท์เรียกว่าแรงงาน หรือ labor เพื่อดูแลรักษาเงื่อนไขนี้ไว้ไม่ให้สูญสิ้น
ทั้งในแง่ปัจเจกบุคคลเองและเผ่าพันธุ์ กิจกรรมมี่ว่านี้จึงหมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตและการดูแลรักษา
อย่างการผลิตเพื่อการบริโภคและการสืบพันธุ์ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวพันกับปัจจัยพื้นฐานในการด�ารงชีวิต
ทั้งสิ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง กิจกรรมเหล่านี้ก็คือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครัวเรือน (oikos) นั่นเอง
เมื่อเป็นเช่นนี้ กิจกรรมอย่างแรงงานจึงเป็นกิจกรรมที่มีความ “จ�าเป็น” ส�าหรับมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง
หากไม่สามารถรักษาเงื่อนไขดังว่านี้ได้แล้ว เงื่อนไขอื่นก็มิอาจด�ารงอยู่ อาเรนดท์มองว่าด้วยสภาพ
ของความจ�าเป็นเช่นนี้ กิจกรรมดังกล่าวเหล่านี้จึงเป็นกิจกรรมที่มิอาจกล่าวได้ว่ามีเสรีภาพในตัวมันเอง
ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่มีความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างมาก จัดเป็นกิจกรรมที่อยู่ในพื้นที่ส่วนตัวอย่างแท้จริง
งาน (work)
หากเงื่อนไขส�าคัญอย่าง “ชีวิต” เป็นเงื่อนไขทางกายภาพที่มีความเป็น “ธรรมชาติ”
หรือถูกสรรค์สร้างจากธรรมชาติเหนือความสามารถในการควบคุมของมนุษย์ เงื่อนไขส�าคัญอย่าง
87
ความเป็นโลกวิสัย (worldliness) ก็คือเงื่อนไขที่เป็นไปในทิศทางตรงข้ามเนื่องด้วยเป็นเงื่อนไขที่มนุษย์
สรรค์สร้างขึ้นมาด้วยตนเองเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่สามารถจะหาได้จากกิจกรรมอย่างแรงงาน
ความยากล�าบากและความเหนื่อยหน่ายที่มนุษย์มีต่อการตอบสนองเงื่อนไขทางร่างกายคือสิ่งที่ผลักดัน
ให้มนุษย์ปรารถนาจะหลุดพ้นไปจากวัฏจักรที่ไม่เคยสิ้นสุดดังกล่าว อาเรนดท์เรียกกิจกรรมที่แสวงหา
ความคงทนถาวรเช่นนี้ว่างาน (work) ดังนั้นหากความไม่ยั่งยืนคือผลผลิตของกิจกรรมอย่างแรงงาน
ความคงทนถาวรย่อมเป็นเป้าหมายของงานอย่างน้อยก็ในชั่วระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจกินเวลาได้เพียง
ช่วงสั้น ๆ ไม่กี่วันจนถึงการก้าวข้ามเขตแดนอายุขัยของมนุษย์เอง สิ่งประดิษฐ์อย่างตู้เย็นจึงอาจช่วย
ยืดระยะเวลาเก็บกักอาหารแทนการจัดหาวันต่อวันเป็นการยืดเวลาให้พ้นข้ามวัน เช่นเดียวกับหนังสือ
และระบบการเขียนที่อาจช่วยยืดระยะของความทรงจ�าและการผลิตซ�้าแบบมุขปาฐะให้ยืนยงเกินชั่วอายุคน
เมื่อเป็นเช่นนี้ งานจึงเป็นเรื่องของสิ่งประดิษฐ์ต่างๆโดยฝีมือมนุษย์เพื่อตอบสนองต่อบางสิ่งอันเป็นสิ่งที่
อยู่นอกเหนือไปจากวัตถุที่เกิดขึ้นเองหรือมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
86 Ibid., 100.
87 Ibid., 150.