Page 48 - kpiebook67011
P. 48
47
บทที่ 4
แนวคิดเรื่องการเมือง
และความเป็นการเมือง
ในทัศนะของ
ฮันนาห์ อาเรนดท์
ในบทนี้จะเป็นการพิจารณาถึงความคิดถึงการเมืองในความคิดของอาเรนดท์ ซึ่งจะพิจารณา
จากงาน The Human Condition (1958) เป็นหลัก จากบทที่แล้ว เราได้พิจารณาว่าการเกิดขึ้นของ
ลัทธิเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จนิยมนั้นเป็นการเกิดขึ้นของมวลชนที่ไม่ได้มีพันธะทางสังคม ไม่ได้มีการปฏิสัมพันธ์
แบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือการส่วนร่วมของพลเมือง มวลชนจึงเกิดขึ้นการวมตัวที่ไม่ได้สนใจ
การเมือง แต่เป็นการรวมตัวเพื่ออุดมการณ์บางอย่าง โดยละเลยความแตกต่างออกไป และเชื่อมกันด้วย
ความเหมือนที่ถูกครอบง�าด้วยอุดมการณ์นั้น เช่น การเกลียดยิวเหมือนกัน เป็นต้น ดังนั้น คุณสมบัติของ
ความเป็นพลเมือง ของการเป็นมนุษย์ที่มีปฏิสัมพันธ์กันในการพูดคุย การท�าความเข้าใจ การเห็นคุณค่า
และเคารพกันของมนุษย์ หรือการเป็นสัตว์การเมือง (political animal) ของอริสโตเติลในความหมาย
ที่มนุษย์นั้นสามารถปฏิสัมพันธ์กันผ่านการพูดคุย เข้าใจกัน และมีส่วนร่วมต่อกัน ซึ่งท�าให้เกิดความเป็น
การเมืองขึ้นในลักษณะของการที่มนุษย์มีพันธะทางสังคมต่อกันในส่วนหนึ่ง ซึ่งท�าให้เกิดสิ่งที่อาเรนดท์
เสนอให้เรา “คิดว่าเราก�าลังท�าอะไรอยู่” เสมอ เพราะการกระท�าของเรา—มนุษย์นั้น— มีผลกระทบ
79
ต่อสังคมโดยรวม “การกระท�า” ของมนุษย์ที่อาเรนดท์อาจเรียกว่าเป็นกิจกรรมของสภาวะมนุษย์ทั้งสาม
แรงงาน ผลงาน และการแสดงตน ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปนั้น เป็นการดึงการเมืองให้กลับมาอยู่กับมนุษย์
เพราะสังคมปัจจุบันและระบบทุนนิยมได้ท�าให้การเมืองออกห่างจากมนุษย์ (depoliticised) มากขึ้น
จนท�าให้สภาวะของมนุษย์นั้นไม่สมบูรณ์ การกระท�าของมนุษย์ที่ไม่ได้ผ่านการคิดการไต่ตรองให้ดี
อาจน�าไปสู่สังคมที่ไม่พึงประสงค์และเป็นอันตรายต่อมนุษยชาติโดยไม่รู้ตัว เช่น การเกิดขึ้นของเผด็จการ
79 Hannah Arendt, Margaret Canovan, and Danielle Allen, The Human Condition: Second Edition, 2nd ed.
(Chicago, IL: The University of Chicago Press, 2018), xii, 5.