Page 44 - kpiebook67011
P. 44

43







                  และผู้กระท�าผิดก็อาจลอยนวล ที่ส�าคัญที่สุด คือสังคมไม่ได้โอกาสในการเรียนรู้ถึงสิ่งที่ผิดพลาด

                  และอาเรนดท์เห็นว่าเนื่องจากไอค์แมนมีบทบาทส�าคัญในการก�าจัดเชื้อชาติหนึ่งให้หมดสิ้นไปจากโลกนี้
                  เขาจึงควรถูกก�าจัด ดังนั้น “ความยุติธรรม” ที่เกิดขึ้นในการไต่สวนที่ยารูซาเล็มนี้ จะเป็นความยุติธรรม

                  ที่ท�าให้สังคมโดยรวมได้เห็น หากผู้พิพากษาได้มีการกล่าวถึงว่าอาชญากรรมต่อชาวยิวครั้งนี้เป็นอาชญากรรม
                  ที่เลวร้ายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งอาเรนดท์เห็นเช่นนั้น และได้ร่างค�ากล่าวต่อไอค์แมนด้วยตัวเอง

                  ในแบบที่อาเรนดท์เองอยากให้เป็นในตอนท้าย ความว่า ไอค์แมนได้ก่อให้เกิดอาชญากรรมครั้งใหญ่
                  โดยที่ตัวเขาเองยอมรับว่ามีส่วนร่วมในอาชญากรรมครั้งนี้ แต่ไม่ก็ยังให้การว่าไม่ได้กระท�าลงไปด้วย

                  แรงจูงใจที่อยากท�าเอง เป็นเพราะค�าสั่งจากเบื้องบน จึงไม่เป็นความผิด ซึ่งใครก็ตามที่มาอยู่ในสถานะ
                  ของเขาก็ต้องท�า ความผิดจึงไม่ได้ตกมาอยู่ที่ตัวเขา และแม้ว่าเขาจะบอกว่าเขาถูกผลักให้เข้ามาพัวพันกับ

                  อาชญากรรมนี้ แต่มันก็มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างสิ่งที่เขาท�าไป และสิ่งที่ผู้อื่นหากมาอยู่ในจุดนั้น
                  อาจจะท�า ซึ่งอาจจะท�าหรือไม่ก็ได้ แต่เขาเลือกที่จะท�า แต่อย่างไรก็ตาม แม้หากว่าข้อแก้ตัวของเขาที่ว่า

                  เป็นเรื่องโชคไม่ดีที่เขาต้องตกมาอยู่ในฐานะเครื่องมือของการสังหารหมู่นั้นฟังขึ้นจริง ๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
                  ก็คือไอค์แมนนั้นยังเป็นตัวการส�าคัญในการสนับสนุนนโยบายการสังหารหมู่ ซึ่งอาเรนทด์เห็นว่าในทาง

                  การเมืองนั้น การเชื่อฟังค�าสั่ง อยู่ในโอวาท และการสนับสนุนนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน และสิ่งที่ไอค์แมนท�า
                  ซึ่งก็คือการสนับสนุนและด�าเนินการให้นโยบายที่ไม่ต้องการให้ชาวยิวและชนชาติอื่นอีกเป็นจ�านวนมาก

                  อยู่ร่วมโลกกับเขา ที่ไอค์แมนและผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่าเขาอ้างสิทธิ์ในการก�าหนดว่าใครควรหรือไม่ควร
                  อยู่ในโลก ดังนั้น อาเรนดท์จึงคิดว่า คงไม่มีสมาชิกของมนุษยชาติคนใดที่อยากจะอยู่ร่วมโลกกับไอค์แมน

                  ด้วยเหตุนี้ เขาจึงควรถูกแขวนคอ  77

                           สิ่งที่อาเรนดท์พยายามเสนอ คือการจะบอกว่า สิ่งที่ไอค์แมนกระท�าลงไปนั้น เขาสมควรตาย

                  ไม่ว่าจะด้วยความเป็นยิวของเธอ หรือเพราะเธออาจเป็นผู้ที่เป็นเชื้อชาติเดียวกับเหงื่อที่ถูกกระท�ามาก่อน

                  จะท�าให้เธอมีความคิดเช่นนี้ อาเรนดท์ยังได้กล่าวว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับโทษประหารชีวิตในเชิงหลักการ
                  แต่เธอก็ไม่ได้คิดว่ากรณีนี้จะเป็นกรณีที่จะเป็นกรณีที่พวกเขาจะยอมรับ [ว่าไม่ควรจะต้องประหาร]
                                                                                                          78
                  อาเรนทด์จึงคิดว่าอย่างไรก็ตามตามสามัญส�านึก ไอค์แมนจึงสมควรตาย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

                  เพราะไอค์แมนต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระท�าของเขา การที่เขาปฏิเสธข้อกล่าวหา ไม่ว่าจะด้วย

                  เหตุผลว่ารับฟังค�าสั่งมาอย่างขัดขืนไม่ได้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการว่าจะมีความเลวร้ายเกิดขึ้นในภายหลัง
                  จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับโทษที่เขานั้นควรจะได้รับ ภาวะ “ความชินชาของความชั่วร้าย” จึงเกิดขึ้น
                  หลังจากที่เขาปฏิเสธไม่รับผิดชอบ และโบ้ยความผิดไปให้กับผู้ออกค�าสั่ง ซึ่งในที่นี้ ผู้มีอ�านาจในการสั่งการ

                  ก็คือฮิตเลอร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีอ�านาจมากที่สุดและเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของอาณาจักรไรช์ที่สาม ซึ่งก็คือ

                  รัฐเยอรมนีในขณะนั้น ซึ่งอาเรนดท์มองว่า เป็นเหตุผลและข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น เพราะการสนับสนุน
                  กับการเชื่อฟังโดยให้ความยินยอมนั้นเป็นสิ่งเดียวกันในประเด็นทางการเมือง




                  77   Ibid., 277–79.
                  78   Ibid., 252.
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49