Page 43 - kpiebook67011
P. 43

42      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







             เพราะเขาคงรู้ตั้งแต่วินาทีแรกที่อิสราเอลได้ตัวเขาแล้วว่า เขาจะต้องมาเจอจุดจบที่นี่ ก่อนจะถูกแขวน

             เขายังได้กล่าวว่า “จากนี้ไม่นาน เราจะได้พบกัน มันเป็นชะตาของทุกคน เยอรมนีจงเจริญ อาร์เจนติน่า
             จงเจริญ ออสเตรียจงเจริญ ข้าพเจ้าจะไม่ลืมพวกเขา” นี่จึงเป็นสิ่งที่อาเรนดท์เรียกว่าเป็นบทเรียนที่น่ากลัว

                                                                                                      74
             ของความชั่วร้ายของมนุษย์ สิ่งที่ความคิดและค�าพูดจะอธิบายได้ว่าคือ ความชินชาของความชั่วร้าย
             ซึ่งคือการมองความชั่วร้ายเป็นสิ่งปกติ และไม่ได้มีส�านึกว่าเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ว่าจะด้วยเหตุที่ท�าไปเพราะ

             หน้าที่ ค�าสั่ง หรือท�าไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการก็ตาม

                      ที่กล่าวมาทั้งหมด ก็เพื่อให้เห็นภาพของการให้การของไอค์แมน ที่แม้ว่าอาจมีการพยายาม

             วกไปวนมาของค�าให้การ ครั้งหนึ่ง ก็บอกว่าตนไม่มีความผิดตามกฎหมาย เพราะท�าการกฎหมาย

             แห่งรัฐเยอรมัน และรัฐเยอรมันไรช์ที่สามไม่ได้มีอยู่แล้วบ้าง กล่าวว่ารัฐอิสราเอลไม่มีอ�านาจบ้าง
             หรืออ้างว่าสิ่งที่ท�าไปไม่ได้ท�าไปเพราะความเกลียดชังต่อเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่ง แต่เป็นไปเพราะค�าสั่ง
             และตนไม่ควรได้รับโทษ บ้างก็อ้างว่าเพราะตนไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระท�าการสังหารเอง จึงไม่ต้องรับโทษ

             บ้างก็กล่าวว่าระบอบนาซีเป็นระบอบที่บิดเบี้ยวหลอกลวง แค่สุดท้ายก็ภาคภูมิใจในความเป็นนาซีของ

             ตนเอง มีการตั้งข้อสงสัยว่าเขาวิกลจริตหรือไม่ แต่แพทย์หลายท่านก็ยืนยันว่าเขาปกติ ดังนั้น ข้อสงสัย
             เกี่ยวกับความรับรู้เรื่องผิดชอบชั่วดีของเขาจึงปกติ   เพียงการรับรู้ว่าการฆ่าคนหรือกระท�าการอันท�าให้
                                                         75
             เกิดการฆ่านั้นผิดหรือไม่ ก็คงไม่ใช่เรื่องยาก หรือเป็นสิ่งที่เขาแยกแยะไม่ออก ค�าให้การตอบโต้ของเขา

             ที่ว่าไม่ได้เป็นปีศาจร้ายและไม่ได้เกลียดยิวจึงฟังไม่ขึ้น การไม่ยอมรับความผิดตามข้อกล่าวหา การมองว่า

             ท�าหน้าที่เป็นตัวกลาง และเพียงสนับสนุนไม่ควรมีความผิดนั้น จึงเป็นการตีความต่อความผิดและ
             ความชั่วร้ายที่น่ากลัวต่อมนุษยชาติ เพราะ ไอค์แมนไม่ได้มองว่าความชั่วร้ายและความผิดจะมีอยู่ระหว่าง
             กระบวนการ—ผู้ออกค�าสั่งและผู้ลงมือ— นั้นมีความผิดในการเป็นสื่อการและสนับสนุนอ�านวยการ

             ถ้าหากว่าเขายังมีสติสัมปชัญญะที่ดีอยู่ ก็แสดงให้เห็นว่าเขามองว่าการท�าตามค�าสั่งไม่ว่าจะเลวร้ายแค่ไหน

             ก็ไม่มีความผิด จึงเป็นที่มาของการมองเห็นว่าความเลวร้ายหรือความชั่วร้ายนั้นเป็นเรื่องธรรมดาไม่ได้
             เป็นผู้ริเริ่ม และไม่เกิดเป็นความผิดหากไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ความคิดแบบนี้ ไม่ว่าจะต่อชาวยิว
             หรือต่อใครก็ตามจึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวต่อมวลมนุษยชาติ เพราะ เป็นการหาทางออกจากอาชญากรรมที่ตน

             มีส่วนเกี่ยวข้องโดยปัดความรับผิดชอบด้วยเหตุผลทางกฎหมายและความชอบธรรมของการรับค�าสั่งจาก

             องค์อธิปัตย์


                      อาเรนดท์ยังได้กล่าวทิ้งทายในปัจฉิมบท ถึงความยุติธรรม ที่ความยุติธรรม “ไม่ใช่แค่จะต้อง
                                                 76
             เกิดขึ้น แต่ต้องให้เห็นว่ามันเกิดขึ้น”   เพราะทุกคนต่างรู้ดีว่าการกระท�าของไอค์แมนและนาซี
             ต่อการสังหารหมู่นั้นผิด และคงจะถูกลงโทษหรือได้รับผลกรรมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่หากการลงโทษนั้น

             ไม่ได้ถูกเปิดเผยและท�าให้สังคมรับรู้ การกระท�าผิดหรืออาชญากรรมนั้นก็อาจถูกท�าให้เกิดขึ้นซ�้า



             74   Ibid., 252.
             75   Ibid., 26.
             76   Ibid., 277.
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48