Page 42 - kpiebook67011
P. 42

41






                  3.3 การที่ความชั่วร้ายกลายเป็นความปกติ




                          ไอค์แมนถูกตั้งข้อหาไว้ 15 กระทง ซึ่งความผิดในกระทงที่ 1 ถึง 12 นั้นมีโทษถึงประหารชีวิต

                  เช่น เป็นเหตุให้เกิดการคร่าชีวิตของชาวยิวนับล้าน น�าชาวยิวไปอยู่ในสถานะที่น�าไปสู่การถูกท�าลาย
                  ท�าให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ หรือ ระงับการเกิดและการตั้งท้องของหญิงชาวยิว

                  ในค่ายกักกัน เป็นต้น ซึ่งไอค์แมนก็ได้ให้การเพียงแค่ว่าเขาเพียงแต่ช่วยเหลือและสนับสนุนท�าให้กระบวนการ
                  ไปต่อได้เท่านั้น เขาไม่เคยท�าความผิดอย่างโจ่งแจ้ง การตัดสินแม้ว่าจะไม่ได้สามารถบอกว่าการให้การ

                  ของเขานั้นเท็จหรือผิด เพราะไอค์แมนให้การปฏิเสธเสมอมา แต่จุดส�าคัญของการตัดสินนั้นอยู่ที่ว่า
                  ผู้ที่กระท�าความผิดด้วยมือของตนเอง ที่เป็นผู้ลงมือกระท�าความรุนแรงต่อเหยื่อนับล้าน ไม่ว่าจะเป็นชาวยิว

                  หรือชนเชื้อชาติอื่นนั้น เป็นเพียงผู้ลงมือกระท�า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ผิด แต่ระดับของความรับผิดชอบ
                                                                              72
                  นั้นเพิ่มขึ้น เมื่อเรามองในภาพใหญ่ที่ออกห่างจากตัวตัวผู้กระท�านั้นเอง   กล่าวคือ การตัดสินนั้นไม่ได้มอง
                  แค่ว่าใครเป็นผู้ลงมือกระท�าความรุนแรงนั้น ๆ แต่มองไปยังผู้ที่มีอ�านาจหน้าที่ในการขยายให้อาชญากรรมนี้
                  เกิดขึ้นในวงกว้างด้วย ค�ากล่าวอ้างที่ไอค์แมนพยายามกล่าวว่า เขาเป็นเพียงผู้ประสานงานและเพียง

                  อ�านวยการสนับสนุน แต่ไม่ได้ลงมือกระท�าเองและไม่ได้มีเจตนาจะท�าให้เกิดการฆ่าและการตาย จึงฟังไม่ขึ้น
                  และไม่เป็นผลต่อการตัดสิน


                          ค�าให้การสุดท้ายของไอค์แมน เขายังยืนยันว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ที่เกลียดชังชาวยิวเป็นการส่วนตัว

                  แต่ความผิดของเขานั้นมาจากการที่เขาเป็นผู้ที่เชื่อฟังค�าสั่งและอยู่ในโอวาท (obedience) ของนาซี
                  และการอยู่ในโอวาทนี้ เป็นสิ่งที่ได้รับการยกย่องชื่นชมว่าเป็นการมีคุณธรรม (virtue) ซึ่งหมายถึง

                  เป้าหมายของการเป็นส่วนหนึ่งของนาซี เขาจึงต้องท�าตามค�าสั่งของผู้บังคับบัญชาที่อยู่เหนือว่า
                  พวกผู้บังคับบัญชาที่ออกค�าสั่งเท่านั้น จึงควรเป็นผู้ที่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ทั้งหมด

                                                                      73
                  ส่วนเขาเป็นเพียงแค่เหยื่อของระบอบที่บิดเบี้ยวนี้เท่านั้น   แต่สุดท้ายในวันที่ 15 ธันวาคม 1961
                  ไอค์แมนก็ได้ถูกตัดสินประหารชีวิต ซึ่งค�าให้การที่โต้แย้งข้อกล่าวหาของเขาไม่เป็นผล


                          การน�าเขาขึ้นแทนประหารด้วยการแขวนคอนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ไอค์แมน
                  ไม่ได้มีท่าทีเสียใจหรือมีความน้อยเนื้อต�่าใจต่อชะตากรรมนี้แม้แต่น้อย ไอค์แมนกลับมั่นใจในการเดิน

                  เข้าไปที่แดนประหาร ดังที่เขาได้กล่าวไว้ก่อนหน้า ว่าการได้เป็นสมาชิกของนาซีคือเกียรติยศของเขา

                  เขายังเลือกที่จะถูกแขวนคอตายในต�าแหน่งนี้ มากกว่าจะต้องตายอย่างเงียบ ๆ คนเดียวในสถานะ
                  เซลล์แมนคนหนึ่งในออสเตรีย การประหารชีวิตของไอค์แมนนั้นถูกท�าอย่างเร่งรีบ ไม่มีเวลาพอให้เขา
                  ได้กินมื้อสุดท้ายด้วยซ�้า เขาขอเพียงไวน์แดงหนึ่งขวด ที่เขาดื่มไปครึ่งหนึ่ง ปฏิเสธการอ่านไบเบิลของ

                  พระสงฆ์คริสเตียน ด้วยความเป็นนาซีที่ไม่เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย เมื่อถูกมัดเท้าในการแขวนคอ

                  เขายังขอให้แกะออก เพราะเขาบอกว่ายืนเองได้ แสดงให้เห็นว่าเขาไม่ได้กลัวในชะตากรรมที่จะต้องมาถึง

                  72   Ibid., 244–47.
                  73   Ibid., 248.
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47