Page 41 - kpiebook67011
P. 41
40 ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์
69
ก็ถูกพับลงด้วยการกีดกันทางทะเลของอังกฤษและฝรั่งเศส
Final Solution: Killing เป็นกระบวนการสุดท้ายนั่นก็คือการน�าไปสังหาร (extermination)
นั่นเอง ซึ่งก็แล้วแต่จะใช้ค�าว่าอะไร ไม่ว่าจะเป็น liquidation, evacuation, special treatment หรือ
‘final solution’ ก็เป็นรหัสส�าหรับค�าสั่งฆ่านั่นเอง ในปี 1941 เป็นปีที่ฮิตเลอร์เริ่มโจมตีรัสเซีย
และมีหนังสือค�าสั่งให้เตรียมพร้อมส�าหรับการจัดการกับชาวยิวในอาณาเขตที่เยอรมนีมีอ�านาจในยุโรป
และบังคับใช้ ‘Final Solution’ เพื่อจัดการกับชาวยิว ไอค์แมนเล่าว่า ตอนที่เขาเข้ารับค�าสั่งให้ปลิดชีวิต
ชาวยิวจากฮิตเลอร์นั้น ท่านผู้น�ามีท่าที่เงียบขรึม พูดจาอย่างระมัดระวัง ซึ่งแตกต่างกับนิสัยปกติของ
ฮิตเลอร์ ไอค์แมนกล่าวว่าเขาไม่เคยคาดคิดถึงการต้องใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เขารู้สึกอ้างว้าง
หมดความสุขในการท�างาน นอกจากนี้ยังมีชาวยิวบางส่วนที่ไม่ได้ถูกสังหาร แต่ถูกน�าไปใช้แรงงาน
(มักจะไปที่ ‘Theresienstadt Ghetto’ ซึ่งเป็นค่ายกักกันผสมระหว่างค่ายแรงงานกับค่ายสังหาร)
ภายใต้รหัสว่า ‘resettlement’ ซึ่งเป็นส่วนน้อย ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องมีการให้ความชอบธรรมกับการฆ่า
70
เพราะแน่นอนว่าการฆ่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ถูกต้องในส�านึกความผิดชอบชั่วดีในการทั่วไป จึงมีค�าแก้ตัวของ
ดร. เซอร์เวติอุส ทนายของไอค์แมนในการไต่สวน ว่าการใช้แก๊สรมควันในการสังหารเป็นการหยิบยื่น
ความตายอย่างปราณี โดยเฉพาะผู้ที่ป่วย หรือค�ากล่าวของเฮนริค ฮิมเลอร์ ผู้น�าคนส�าคัญของนาซี
หนึ่งในผู้ออกแบบการสังหารหมู่ ที่ว่า “นี่คือสงครามที่คนรุ่นต่อไปจะได้ไม่ต้องสู้อีก” “ค�าสั่งที่ท�าให้เรา
จัดการกับยิว [Jewish question] เป็นค�าสั่งที่น่ากลัวมากที่สุดที่องค์กรได้รับมา” สิ่งเหล่านี้จึงท�าให้
71
ความน่าเกลียดน่ากลัวของความชั่วร้ายดูเบาบางลงไป เพราะมีการหาเหตุผลมารองรับในการกระท�านั้น
ไม่ว่าจะเป็นการสังหารคนมากเป็นจ�านวนหลักล้านคน ก็ยังมีเหตุผลส�าหรับการกระท�านั้น
จึงเห็นได้ว่า การลงมือเพื่อจัดวางต�าแหน่งของชาวยิว จึงมีการวางแผนและออกแบบมา
เป็นอย่างดี ‘Jewish question’ จึงด�าเนินไปโดยมีการประเมินตลอดเวลา มีเพียงสมาชิกระดับสูง
ของพรรคนาซีเท่านั้นที่รู้ความเป็นไปและจุดประสงค์ที่แท้จริงของปฏิบัติการ ส่วนที่เหลือก็เป็นเสมือน
แขนขาที่เป็นเครื่องมือให้นาซีสั่งการเพื่อปฏิบัติการได้ แต่ด้วยการลงมือนั้น เป็นการกระท�าที่มีผลกระทบ
ต่อชีวิตคนเป็นจ�านวนมาก ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ต้องท�าตามค�าสั่งควรมีความผิดด้วยหรือไม่ ? หรือไม่มี
ทางเลือกเพราะหากไม่ท�าจะเป็นภัยต่อตนเอง มากไปกว่านั้น ผู้กระท�านั้นรู้สึกว่าตนได้ท�าสิ่งที่ชั่วร้ายลงไป
หรือไม่ หรือไม่จ�าเป็นต้องรู้สึกส�านึกผิด เพราะส�านึกผิดชอบชั่วดีนั้นอยู่ภายใต้ค�าสั่งของผู้บังคับบัญชา
และอาจน�าไปสู่การกลายเป็นปกติของความชั่วร้ายเหล่านั้นหรือไม่
69 Christopher R. Browning, The Path to Genocide: Essays on Launching the Final Solution, Revised ed.
edition (Cambridge: Cambridge University Press, 1995), 18–19.
70 Arendt and Elon, Eichmann in Jerusalem, 83–85.
71 Ibid., 105–8.