Page 37 - kpiebook67011
P. 37

36      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







             ซึ่งเป็นแผนการในการสังหารหมู่ชาวยิวในสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นค�าตอบของ ‘Jewish Question’

             ที่เป็นการตั้งค�าถามถกเถียงกันในยุโรปถึงการจัดการต�าแหน่งแห่งที่ของชาวยิว เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างของ
             ความชินชาของความชั่วร้าย น�าไปสู่ค�าถามของประชาธิปไตยต่อไป






             3.1 การให้การของไอค์แมน




                      ไอค์แมนถูกจับ ในวันที่ 11 พฤษภาคม 1960 โดยไม่มีการใช้ยา เชือก หรือกุญแจมือ
             ไม่มีการท�าร้ายร่างกายโดยไม่จ�าเป็น โดยคนเพียงแค่ 3 คน ซึ่งเป็นงานที่มืออาชีพมาก โดยที่เขารู้ตัวว่า

                                                56
             เขาได้อยู่ในเงื้อมือของอิสราเอลแล้ว   ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 15 ปีให้หลัง หลังจากสงครามโลก
             ครั้งที่สอง และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวนั้นจบสิ้นลง เขาได้หนีออกจากเยอรมนีไปยังอาร์เจนตินา

             โดยใช้ชื่อปลอม เพื่อปกปิดตัวตน เขาถูกจับได้ในเมืองบิวโนส ไอริส (Buenos Aires) และถูกส่งตัวมายัง
             เมืองยารูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล 9 วันต่อมาเพื่อท�าการไต่สวนถึงความผิดที่เขาได้กระท�าไปต่อชาวยิว

             และต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งผู้พิพากษาได้กล่าวว่าจะไม่มีการแบ่งเชื้อชาติในการด�าเนินคดีต่อไอค์แมน
             เพราะนี่ไม่ใช่อาชญากรรมต่อชาวยิว แต่เป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ที่ท�ากระท�าผ่านร่างกาย

                     57
             ชาวยิว   เพราะนี่คือการสังหารหมู่ ที่มีเชื้อชาติเป็นเป็นเงื่อนไข ในการสังหาร ไม่แน่ว่าในอนาคต
             หากมีการสังหารเกิดขึ้นจะมีเงื่อนไขใดอีก ที่เป็นชนวนน�ามาซึ่งความขัดแย้งและจบลงด้วยการต้องถูกก�าจัด

             ให้หมดสิ้นไป และไม่แน่ว่าปัจเจกชนคนใดก็อาจเป็นเหยื่อของการสังหารหมู่เหล่านั้นก็ได้ ตรรกะของ
             การสังหารหมู่จึงต้องหาความชอบธรรมจากการแบ่งแยกเหยื่อเหล่านั้นว่าเป็นศัตรู หรือเป็นกลุ่มคนที่แปลกแยก

             ออกจากผู้กระท�า ซึ่งเป็นความพยายามในการแบ่งแยกมวลมนุษยชาติออกเป็นกลุ่ม ไม่ว่าจะด้วยอัตลักษณ์
             เชื้อชาติ หรือเพศ ดังนั้น ‘Final Solution’ จึงเป็นอาชญากรรมครั้งที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลก

             แต่ประเด็นในครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่เหยื่อ แต่กลับไปอยู่ที่การรับรู้ของผู้ลงมือกระท�าอาชญากรรม


                      ไอค์แมนให้การว่า เขาไม่คิดว่าสิ่งที่เขาได้ลงมือกระท�าไปนั้นเป็นความผิด เขาได้กล่าวว่า
                                                                                     58
             เขา “ไม่ได้มีความผิดตามค�าฟ้อง (not guilty in the sense of the indictment)”   ในค�ากล่าวหาที่ว่า
             “ร่วมกับผู้อื่น ก่ออาชญากรรมต่อชาวยิวและมวลมนุษยชาติ ในสงครามภายใต้ระบอบนาซี ซึ่งกฎหมายนาซี

             ปี 1950 ก�าหนดให้ต้องโทษประหารชีวิต แล้วด้านไหนก็เขาคิดว่ากระท�าผิด ? ดร. เซอร์เวติอุส

             ทนายของไอค์แมนในการไต่สวน ตอบว่าเขารู้สึกผิดต่อพระเจ้า ไม่ใช่กฎหมาย ในทัศนะของไอค์แมนนั้น
             เขาไม่คิดว่าเขาได้เข่นฆ่าใคร ไม่ว่าจะเป็นชาวยิวหรือไม่ เขาไม่เคยออกค�าสั่งฆ่า แต่ถ้ามีค�าสั่ง เขาก็พร้อม
             เสมอที่จะท�าตาม แม้ว่าจะเป็นค�าสั่งให้สังหารบิดาของเขาก็ตาม และแม้ว่าจะมีหลักฐานที่เป็นเอกสาร

             จากกระทรวงการต่างประเทศเยอรมันที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับยูโกสลาเวีย ที่ปรากฏว่าการสนทนา

             56   Ibid., 240–41.
             57   Ibid., 6–7.
             58   Ibid., 21.
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42