Page 34 - kpiebook67011
P. 34
33
โดยมีผู้น�าบารมีที่สามารถท�าให้มวลชนเชื่อฟัง และถูกครอบง�าอย่างเบ็ดเสร็จได้ ระบอบเบ็ดเสร็จนิยม
จึงสามารถตั้งมั่นตราบเท่าที่ความยินยอมของมวลชนต่อผู้น�านั้นยังคงอยู่
จากที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่า อาเรนดท์กล่าวถึงมวลชน ท�าให้เห็นได้ว่า มวลชนนั้นมีลักษณะ
เป็นองค์อินทรีย์ที่เป็นปึกแผ่น ที่ปราศจากพันธะทางสังคม โดยพยายามที่จะละเลยความแตกต่างที่
มนุษย์นั้นมี เช่น ชนชั้นทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเป็นมวลชนที่สามารถ
ขับเคลื่อนในขบวนการเบ็ดเสร็จนิยมได้ แต่ในขณะเดียวกัน ประชาธิปไตย ก็ให้ความส�าคัญกับ “ประชาชน”
เช่นกัน และประชาธิปไตยก็ไม่ได้ให้ความส�าคัญกับการแยกประชาชนออกเป็นกลุ่มหรือชนชั้น เพียงแต่
เป็นการปกครองโดยประชาชนหรือคนหมู่มาก ซึ่งหากพิจารณาแล้ว ก็จะไม่ได้เห็นความแตกต่างระหว่าง
เบ็ดเสร็จนิยมกับประชาธิปไตยมากนัก เพราะเป็นการปกครองที่เน้นประชาชนและมวลชนเหมือนกัน
เน้นการใช้เสียงข้างมากเหมือนกัน มวลชนก็ไม่ได้ถูกบีบบังคับให้สนับสนุนผู้น�า เบ็ดเสร็จนิยมก็ดูจะคล้าย
ประชาธิปไตยทางตรงด้วยซ�้า แต่เหตุใดความหมายของทั้งสองจึงแตกต่างกันคนละขั้ว
อาจเป็นเพราะประชาธิปไตยนั้นให้ความส�าคัญกับคุณค่าทางการเมืองมากกว่าเบ็ดเสร็จนิยม
ซึ่งดังที่ได้กล่าวไปว่าเบ็ดเสร็จนิยมนั้น ต้องการมวลชนที่ไม่แยแสทางการเมืองเท่าใด เพื่อที่จะให้สามารถ
เกิดส�านึกร่วมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียว แต่ประชาธิปไตยนั้นให้ความส�าคัญ
กับการความเป็นการเมืองในแง่ของการมีส่วนร่วม การโต้แย้ง การปรึกษาหารือ ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่
เพื่อให้ความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้นได้ และสามารถหาข้อสรุปที่เห็นร่วมกันได้ มากกว่าจะเป็นการพยายามบีบ
ให้เหลือเพียงแนวทางเดียวที่ทุกคนเห็นร่วมกันหมด
จริงอยู่ว่าทั้งสองนั้นมีพื้นฐานมาจากเสียงข้างมากหรือเสียงส่วนใหญ่ แต่ความแตกต่าง
จึงอยู่ที่พื้นที่ทางการเมืองของมนุษย์ การไม่มีที่ทางทางการเมืองหรือการถูกจ�ากัดพื้นที่ทางการเมือง
ของมนุษย์จึงท�าให้ความคิดและอุดมการณ์แบบเบ็ดเสร็จนิยมเป็นไปได้ ในส่วนถัดไป เราจะได้พิจารณาถึง
ความเป็นการเมืองและพื้นที่ทางการเมืองของมนุษย์ว่าเหตุใดมนุษย์จึงถูกจ�ากัดไม่ให้มีพื้นที่ทางการเมือง
จากสภาวะเงื่อนไขของความเป็นมนุษย์ อันเป็นอุปสรรคต่อการเป็นประชาธิปไตย