Page 31 - kpiebook67011
P. 31
30 ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์
ดังนั้น เมื่อความเป็นมวลชนและประชาชนที่เหมือนกันถูกสถาปนาขึ้นที่มองข้ามความแตกต่างทาง
ชนชั้นทางเศรษฐกิจ จึงเปิดโอกาสให้เกิดอุดมการณ์เบ็ดเสร็จนิยมขึ้น ภายใต้สังคมที่เป็นบริสุทธิ์
ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน มีความเป็นปึกแผ่นและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มวลชนมีส�านึกร่วมไปที่เป้าหมายเดียวกัน
ความเป็นชาติในแง่นี้จึงส�าคัญเหนือสิ่งอื่นใด ชาติจึงเป็นกลไกหนึ่งที่เอื้อให้เกิดเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม
เพราะ ชาติเรียกร้องให้ไม่เกิดความเห็นต่าง องค์ประกอบต่อไปที่จะต้องหาคือการก�าจัดสิ่งแปลกปลอม
ออกไป เช่น ในนาซีเยอรมันก็ใช้องค์ประกอบที่เกี่ยวกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ
อนึ่ง จึงท�าให้รัฐที่เป็นสังคมนิยมอย่างโซเวียตที่รัฐพยายามยึดถือปัจจัยการผลิตมารวมไว้ที่รัฐเอง
และท�าหน้าที่เป็นผู้กระจายทรัพยากรและความมั่งคั่งให้เกิดความยุติธรรม ไม่สามารถพัฒนาหรือ
เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ได้ เพราะเมื่อสลายชนชั้นแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้คือความเหมือนกัน
ของมวลชน มวลชนที่มีอารมณ์ และพร้อมที่จะเอนเอียงไปตามอุดมการณ์ที่มวลชนนั้นมีส�านึกร่วม
ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการในการสร้างอุดมการณ์เบ็ดเสร็จนิยม ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นนาซีเยอรมัน ฟาสซิสต์
อิตาลี หรือบอลเชวิกรัสเซีย มีใจความส�าคัญคือท�าให้จิตใจของมวลชนนั้นว่างเปล่า พยายามลบล้าง
ประวัติศาสตร์ของพวกเขาที่มีร่วมกันมา เพื่อสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้พวกเขามีส�านึกร่วมและภูมิหลัง
ที่เหมือนกัน จะผ่านโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) หรือไม่ก็ตามแต่ จึงสามารถที่จะขับเคลื่อนมวลชน
ไปตามอุดมการณ์ได้ ซึ่งนี่ไม่ใช่งานที่ผู้น�าคนเดียวจะท�าได้ แต่เป็นสื่งที่มวลชนจะต้องร่วมกันท�า ไม่ต่างกับ
สิ่งที่เรียกว่าประชานิยม (populism) การปฏิวัติเป็นคอมมิวนิสต์ที่ไม่ส�าเร็จ ในแง่นี้ จึงเข้าทางเป็น
องค์ประกอบหนึ่งที่ส�าคัญของขบวนการเบ็ดเสร็จนิยม
2.3 การตั้งมั่นของเบ็ดเสร็จนิยม
ขบวนการเบ็ดเสร็จนิยมนั้นเล็งถึงผลส�าเร็จของการจัดตั้งมวลชน ไม่ใช่ชนชั้น ขณะที่กลุ่มการเมือง
แบบอื่น เช่น พรรคการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ สถาบันทางการเมืองต่าง ๆ คิดถึงอ�านาจที่สมน�้าสมเนื้อ
เป็นระบบและต่อรองได้ ขบวนการเบ็ดเสร็จนิยมกลับมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งมวลชนให้ได้ ก่อนที่จะยึดอ�านาจ
49
จากนั้นจึงเปลี่ยนผู้น�าเผด็จการ จัดตั้งให้เป็นพรรคการเมืองในการปกครอง ซึ่งก็คือวิธีการริเริ่มจากเบื้องล่าง
นั่นเอง ซึ่งบางประเทศเล็ก ๆ ในยุโรปตะวันตกนั้นไม่ได้ท�าตาม เพราะ การจะเป็นเบ็ดเสร็จนิยมได้นั้น
มีราคาที่ต้องจ่าย ทั้งทรัพยากรมนุษย์ที่จะต้องเชื่อฟังจากการครอบง�าอย่างสมบูรณ์แบบ และการสูญเสียอื่น ๆ
เนื่องจากแน่นอนว่าต้องมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับมวลชน และทางเดียวที่จะลดคนเห็นต่างอย่างมีนัยยะส�าคัญ
ก็คือการท�าให้พวกนั้นหายไป ต่างกับประเทศที่เป็นเผด็จการในโลกตะวันออก เช่น อินเดียและจีน
ที่มีทรัพยากรดังกล่าวมากพอที่จะเสริมพลังและเป็นเครื่องมือให้กับการครอบง�านั้น มาตรการของรัฐ
ที่มีการนองเลือดน้อยลง จะท�าให้การปกครองนั้นยากขึ้น เพราะประชาชนจะไม่เกรงกลัวต่อการต่อต้าน
49 Ibid., 405.