Page 30 - kpiebook67011
P. 30
29
การอยู่ในชนชั้นที่ต่างกัน แม้ว่าจะเป็นสมาชิกอยู่ในรัฐชาติเดียวกันนั้น ก็จะมีความแปลกแยก
อย่างหนึ่งที่มีความขัดแย้งกันมากกว่าคนที่อยู่ในชนชั้นเดียวกัน แต่อยู่ต่างรัฐชาติกัน หรือกล่าวอีกแบบหนึ่ง
คือ ชนชั้นนายทุนนั้นจะรู้สึกใกล้ชิดและมีความผูกพันทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมกับผู้ที่มาจากชนชั้น
47
เดียวกันในต่างประเทศ มากกว่าคนที่อยู่ต่างชนชั้นในประเทศเดียวกัน
ดังนั้น เพื่อความเป็นปึกแผ่นและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ อันเป็นบ่อเกิดและเป้าหมาย
ของส�านึกร่วมของมวลชน จึงไม่สามารถที่จะยอมให้เกิดการแบ่งชนชั้น ที่จะท�าให้ความเป็นปึกแผ่น
และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเกิดขึ้นไม่ได้ การแบ่งนายทุนและแรงงานออกจากกันจึงเท่ากับ
เป็นการแบ่งแยกให้คนในชาติ มวลชนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต้องแยกออกจากกัน หน�าซ�้ายังเกิด
ความขัดแย้งกันด้วย การจะรวมกับเป็นมวลชนเพื่อท�าให้เกิด “ความเชื่อฟัง” ที่จะท�าให้อุดมการณ์ของ
เบ็ดเสร็จนิยมนั้นเป็นไปได้ จึงต้องท�าลายชนชั้นดังกล่าวก่อน มวลชนในที่นี้จึงไม่ใช่ตัวแทนของชนชั้น
แรงงาน แต่เป็นมวลชนที่ท�าลายความแตกต่างทางชนชั้นที่ท�าให้เกิดการแบ่งแยกความเป็นชาติออกจากกัน
เช่นเดียวกับที่นาซีท�ามาแล้ว เมื่อเกิดการท�าลายชนชั้นจึงเกิดสถานะที่ก�้ากึ่งระหว่างนายทุนกับแรงงาน
48
คือนายทุนน้อย (petty bourgeois) คือการเป็นกึ่งผู้ประกอบการกึ่งแรงงาน ที่ไม่ได้รับการรับรองว่า
มีสังกัดเป็นแรงงานขององค์กรใด และไม่ได้มีทุนมากพอที่จะเป็นนายทุนใหญ่ที่มีความมั่นคงทางการเงิน
สถานะที่ก�้ากึ่งนี้ ผลักให้ปัจเจกเหล่านี้ให้อยู่ในสถานะของภาคส่วนที่ไม่เป็นทางการ (informal sector)
ท�าให้ขาดพันธะทางการจ้างงานที่เป็นทางการ และขาดพันธะกับสังคมจากการท�างานที่เป็นระบบ และ
ท�าให้ปัจเจกเหล่านี้ต้องอยู่ในสถานะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการยืนอยู่ทั้งสองขา ทั้งขาของแรงงานที่จะต้อง
ลงแรงท�างานให้ได้มากที่สุด เพื่อหนุนให้ขาของนายทุน ที่ต้องเก็บเงินทุนให้ได้มากที่สุด ท�าให้ไม่ได้มีเวลา
ไปแยแสกับการเมืองมากนัก เพราะดูเป็นเรื่องไกลตัว และมักมีความคิดที่ว่า “ใครเป็นรัฐบาลก็เหมือนกัน
เพราะต้องท�างานหนักเพื่อหาเงินอยู่ดี” สิ่งเหล่านี้อาจมีความหมายคล้ายกับค�าว่า “ชนชั้นกลาง” ที่ไม่ได้
เข้าไปมีส�านึกทางชนชั้นกับชนชั้นใดเลย อันที่จริงก็เพราะชนชั้นกลางนั้นไม่ใช่ชนชั้น แต่เป็นเครือข่าย
ของปัจเจกชนต่าง ๆ ที่มารวมตัวกันเป็นครั้งคราวเพื่อเป้าหมายในการท�าลายบางอย่างในบางโอกาส
“ชนชั้นกลาง” ในแง่นี้ จึงคือการละเลย และสร้างความคลุมเครือในการมองชนชั้นทางเศรษฐกิจ
เพื่อให้เกิดความไม่แตกต่างของมวลชนในการเคลื่อนไหว การมีนายทุนน้อยที่เป็นชนชั้นกลาง จึงเป็นอีก
กลไกหนึ่งที่ท�าให้มวลชนแบบเบ็ดเสร็จนิยมเป็นไปได้
การสลายชนชั้นจึงไม่ได้ท�าไปเพื่อให้ชนชั้นแรงงานชนะและยึดครองอ�านาจรัฐได้ส�าเร็จและพัฒนา
ไปเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่มีความเท่าเทียมกันอย่างที่บางความเชื่อของลัทธิมาร์กซหวัง แต่กลับตาลปัตร
เป็นการสถาปนาความเหมือนของสถานภาพและชั้น (stratum—ไม่ใช่ “ชนชั้น” หรือ class—ชั้นที่บ่งบอก
เพียงอัตลักษณ์หรือสถานภาพเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงความแตกต่างทางปัจจัยการผลิตทางเศรษฐกิจ)
เดียวกันที่กล่าวได้หยาบ ๆ ว่าเป็น “มวลชน” หรือ “ประชาชน” เหมือนกัน ไม่ใช่ ประชาชนที่ “เท่ากัน”
47 Ibid., 201.
48 Ibid., 202.