Page 27 - kpiebook67011
P. 27
26 ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์
น่ารังเกียจและไร้ประโยชน์ กระบวนการสร้างความเกลียดชังจึงอยู่เหนือการกดขี่ (oppression) หรือ
37
การขูดรีด (expliotation) เพราะมันคือการรวบรวมส�านึกร่วมของมวลชนที่มีเป้าหมายร่วมกัน แม้แต่
กลไกที่การกดขี่ทางเศรษฐกิจ ยังไม่นับยิว—ซึ่งเป็นคนร�่ารวยหรือเป็นนายทุน—ว่าอยู่ในความสัมพันธ์
ทางการผลิต ความเป็นยิวจึงถือได้ว่าเป็นความแปลกแยกอย่างถึงที่สุดในสังคมเยอรมัน
สิ่งที่นาซีท�าจึงเป็นการตัดความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติกับยิวอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าจะเป็นความสัมพันธ์
ทางการผลิตที่มีความขัดแย้งทางชนชั้นก็ตาม เช่น การที่นาซีไม่อนุญาตไม่ชาวยิวเป็นเจ้าของกิจการ
ในประเทศ น�้าหอม CHANEL No.5 ก็เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีกรณีพิพาทระหว่างโคโค่ ชาแนล (Coco
Chanel) ผู้ก่อตั้งและคิดค้นเชื้อสายอารยัน กับตระกูลเวิร์ตไฮเมอร์ (Wertheimers) ที่มีเชื้อสายยิว
เรื่องการแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดในการค้าขายระดับนานาชาติ ชาแนลจึงอยากได้ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้น
จึงใช้กลไกที่ห้ามชาวยิวเป็นเจ้าของกิจการโดยการเขียนจดหมายถึงนาซี ว่าได้รับก�าไรที่ไม่เป็นธรรมจาก
ธุรกิจที่สร้างมากับมือ (มนสิชา 2564, 24 – 30) ท�าให้มวลชนเข้าใจและเห็นศักยภาพของการใช้อ�านาจ
ของนาซี ว่าอย่างน้อยถึงแม้จะเป็นเผด็จการที่น่ากลัวและโหดร้าย แต่ก็สามารถท�าให้ก�าจัดศัตรูที่เป็น
สิ่งแปลกแยกออกไปจากสังคมได้โดยไม่ให้เหลือไว้ในวังวนของการผลิตและการขูดรีด แมว่าจะสามารถ
เอาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากยิวเหล่านั้นได้ก็ตาม ทั้งหมดจึงกลายมาเป็นสิ่งที่อาเรนดท์เรียกว่า
38
เป็นชาตินิยมของนาซี (Nazi nationalism)
ดังนั้น สิ่งที่แตกต่างระหว่าง “เผด็จการสมัยใหม่” เหล่านี้กับเผด็จการแบบก่อน ๆ คือ สมัยใหม่นี้
ไม่ได้เป็นการปกครองด้วยความกลัว หรือเป็นการบังคับใช้อ�านาจในการก�าจัดศัตรูด้วยความน่ากลัว
อีกต่อไปแล้ว แต่เป็นเครื่องมือในการปกครองให้มวลชนนั้นเชื่อฟัง (obedient) อย่างสมบูรณ์แบบ
39
การจะสร้างระบอบเบ็ดเสร็จขึ้นมาได้ จะต้องน�าเสนอเครื่องมือบางอย่างที่จะอุ้มชูอุดมการณ์บางอย่างได้
ซึ่งอุดมการณ์นั้นจะต้องยึดเหนี่ยวเชื่อมมวลชนที่หลากหลาย ให้เป็นส่วนใหญ่ เพื่อท�าให้ระบอบนั้น
มีเสถียรภาพ อาเรนดท์กล่าวต่อว่าการที่ระบอบเบ็ดเสร็จนิยมจะตั้งมั่นได้นั้นจะต้องมีแพะรับบาป
40
(scapegoat) ซึ่งเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ ซึ่งแพะในเรื่องนี้ก็คือยิว การโยนยิวให้กลายเป็นแพะนั้นท�าไป
เพื่อให้อุดมการณ์ที่ว่านั้นมีศัตรู และท�าให้คนส่วนใหญ่มีส�านึกร่วมในการก�าจัดศัตรู นั่นคือใจกลางของ
อุดมการณ์ของนาซี ที่ไม่ได้ให้คนเลือกศัตรูได้ เพราะศัตรูของเรานั้นมีเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งก็คือยิว ดังนั้น
การเกลียดยิว การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว จึงกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่ใครก็ท�ากัน ใครก็เกลียด ค�าถามที่ว่า
เกลียดท�าไม เกลียดด้วยสาเหตุอะไร จึงไม่จ�าเป็น เพราะยิวได้กลายเป็นศัตรูสาธารณะในอุดมการณ์นาซี
ไปแล้ว
37 Arendt, The Origins of Totalitarianism, 5.
38 Ibid., 4.
39 Ibid., 7.
40 Ibid., 8.