Page 29 - kpiebook67011
P. 29

28      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







             เศรษฐกิจโดยไม่ต้องทะเยอะทะยานทางการเมือง และแม้ว่าชนชั้นนายทุนนั้นจะอยู่ในฐานะชนชั้นปกครอง

             ก็ไม่จ�าเป็นต้องปกครองเอง แต่ได้ละหน้าที่ไว้กับรัฐ แต่หากรัฐไม่สามารถท�าให้เศรษฐกิจท�าเนินไปได้
             อย่างคล่องตัว ชนชั้นนายทุนนั้นก็มีอิทธิพลต่อรัฐอยู่ดี เพราะเป็นผู้ที่หาทั้งรายได้และอ�านาจให้แก่รัฐ

             ทั้งยังสามารถใช้ก�าลังของรัฐเป็นเครื่องมือในการเข้าไปท�าธุรกิจในประเทศที่เป็นอาณานิคมหรือประเทศ
                        43
             ที่ด้อยกว่า   แต่ในกรณีของเยอรมนีที่ชนชั้นนายทุนพยายามจะปกครองโดยการเข้าร่วมกับฮิตเลอร์
             ด้วยความช่วยเหลือจากมวลชน แม้ว่าจะท�าลายรัฐชาติลงได้แล้ว แต่สุดท้ายแล้วมวลชนก็สามารถ
             คุมการเมืองไว้เองได้ และชนชั้นนายทุนก็ได้ถูกท�าลายไปพร้อมกับชนชั้นและสถาบันอื่น ๆ ในที่สุด

             แต่นั่นก็ไม่ใช่การท�าลายเพื่อสถาปนาสังคมที่มีความเท่าเทียมกับหรือสังคมคอมมิวนิสต์อะไร แต่เป็น
             การท�าลายเพื่อไม่ให้เกิดความแปลกแยกในหมู่มวลชน ซึ่งเป็นกลไกหลักของการสร้างระบอบเบ็ดเสร็จนิยม


                      นายทุนที่ฟุ่มเฟือย มีเงินทุนมากมายจึงต้องการที่จะขยายอาณาเขตและการผลิตออกไป
             นอกประเทศ ด้วยความที่มีทุนมากเกินพอ จึงต้องขยับขยายออกไป เมื่อทุนของประเทศหนึ่งขยายออกไป

             ท�าให้เขาเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อเขาท�าการผลิตและท�าก�าไรนั้น ทุนนั้น

             จึงไม่ได้นับอยู่ในการเป็นปัจจัยการผลิตในประเทศ   กล่าวคือ เป็นการใช้ทรัพยากรในประเทศ
                                                              44
             เพื่อไปดึงผลประโยชน์ของต่างประเทศมาเป็นของตัวนายทุนเอง ไม่ได้เป็นของชาติหรือประเทศใดเลย
             ความอู้ฟู้ของนายทุนข้ามชาติที่ใช้รัฐชาติเป็นเครื่องมือจึงถูกมองว่าเป็นปรสิต แม้ว่าจะเป็นการสมประโยชน์

             กับรัฐชาติก็ตาม แต่การที่มีแรงงานและเงินทุนมากมายไปลงทุนในต่างแดนอย่างแคนนาดา ออสเตรเลีย

             หรือแม้แต่สหรัฐอเมริกานั้น เป็นเหตุให้ตัวรัฐชาติในแง่ของสถาบันนั้นสูญเสียทั้งความมั่งคั่งและประชากร
             ที่ต้องลงแรงงานที่มาจากประชากรในประเทศ ใช่ทรัพยากรของรัฐ แต่คนที่ได้ประโยชน์คือชนชั้นนายทุน
             เพราะความเป็นชาตินั้นต้องอาศัยอิสระทางเศรษฐกิจ  45


                      แต่แล้วเมื่อระบบทุนนิยมได้เป็นกลไกหนึ่งที่ส�าคัญต่อจักรวรรดินิยม ก็ได้มีการแบ่งชนชั้นทาง

             เศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในทุก ๆ ประเทศจึงหลีกหนีไม่พ้นการต่อสู้ทางชนชั้น (class struggle)

             ไปไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เน้นการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ดังนั้น การแบ่งชนชั้นของคนในชาติ
             เดียวกัน ท�าให้เกิดความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (homogenous) ของ “มวลชน” ในชาติ ตัวของชาติ
             (national body) จึงถูกแบ่งออกไปเป็นชั้น ๆ และเกิดการดิ้นรนต่อสู้ของชนชั้นที่เป็นสากลในเวลานั้น

             ในที่สุด คุณลักษณะของการเมืองสมัยใหม่ในเวลานั้น ซึ่งก็คือรัฐชาติ จึงอยู่ในสถานะที่ไม่มั่นคง และแม้ว่า

             การแผ่ขยายของจักรวรรดินิยมจะสามารถเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของชาติได้ แต่ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา
             ชาติไม่น่าจะได้ผลประโยชน์ที่คุ้มเสีย เพราะความเป็นชาตินั้นเรียกร้องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสมอ
             การได้ผลประโยชน์จนอู้ฟู่ของชนชั้นนายทุนในยุคจักรวรรดินิยม และอาณานิคมนิยม แม้ว่าชนชั้นนายทุน

             จะนิยมชาติแค่ไหน ก็อาจถูกมองได้ว่าเป็น “ปรสิตที่อยู่ในคราบของความรักชาติ”  46


             43   Arendt, The Origins of Totalitarianism, 160.
             44   Ibid., 195.
             45   Ibid., 200.
             46   Ibid., 198.
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34