Page 24 - kpiebook67011
P. 24

23







                  เป็นข้อเสนอเชิงการพัฒนาทุนนิยมภายใต้สังคมที่เป็นเสรีนิยม โดยการใช้วิธีการศึกษาแบบการเมือง

                  เปรียบเทียบ (Comparitive Politics) ซึ่งก็เป็นแนวทางการศึกษาที่เกิดจากประเทศที่เจริญกว่าน�าไปศึกษา
                  เปรียบเทียบกับประเทศที่ด้อยกว่า หรือประเทศก�าลังพัฒนา (developing countries) โดยการน�ากรอบคิด

                  ของประเทศที่ได้ชื่อว่าเจริญกว่านั้นไปจับ เช่น มักจะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบความเป็นประชาธิปไตย
                                                     26 27 28
                  กับประเทศในละตินอเมริกา หรือเอเชีย       และชี้ให้เห็นว่าประเทศเหล่านั้น รวมถึงประเทศที่อยู่ใน
                  และเคยอยู่ในโลกคอมมิวนิสต์ในสงครามเย็นนั้น ขาดองค์ประกอบของความเป็นประชาธิปไตย

                          แม้ว่าประเทศที่อยู่ในค่ายของโลกคอมมิวนิสต์นั้น ในประวัติศาสตร์ จะประสบกับความล้มเหลว

                  ในการได้มาซึ่งสังคมคอมมิวนิสต์ และด้วยหลักการของสังคมนิยม ที่ต้องการรัฐบาลที่เข้มแข็งและ

                  เป็นธรรม แต่ในทางปฏิบัตินั้นก็เป็นไปได้ยาก เพราะเมื่อผู้ใดมีอ�านาจก็พร้อมที่จะใช้อ�านาจนั้นได้เสมอ
                  อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า ประเทศในค่ายโลกคอมมิวนิสต์นั้นจะไม่ได้นิยมประชาธิปไตยเสมอไป
                  จะเป็นไปด้วยการต้องการต่อสู้ทางอุดมการณ์กับค่ายโลกเสรี หรือเพราะความหมายที่ถูกนิยมในเชิงบวก

                  ก็แล้วแต่ ประเทศอย่างเยอรมันตะวันออกยังเคยใช้ชื่อ German Democratic Republic หรือเกาหลีเหนือ

                  ในชื่อ Democratic People of Korea   ดังนั้น ด้วยหลักการของสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ที่ต้องการ
                                                    29
                  ให้ประชาชนมีความเท่ากันในทางเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อให้คนมีความเท่ากันในมิติอื่น ที่นอกเหนือจาก
                  สิทธิทางการเมือง เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หรือมีสิทธิ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง จึงไม่ได้

                  มีความขัดแย้ง หรือยืนอยู่ตรงข้ามกับหลักการของประชาธิปไตยในทางทฤษฎี หากแต่อาจอยู่ตรงข้าม

                  กับเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่ท�าให้เกิดความเหลื่อมล�้าทางสังคม รวมถึงการท�าให้มนุษย์นั้นเป็นแรงงาน
                  ที่ไม่เหลือความเป็นมนุษย์ ซึ่งอาเรนดท์เองก็ได้วิเคราะห์ไว้ในกิจกรรมของสภาวะมนุษย์ ซึ่งก็ไม่ได้เห็นด้วย
                  กับการใช้แรงงานแบบทุนนิยม ซึ่งจะได้กล่าวในบทต่อไป


                          แต่วาระของสงครามเย็น ซึ่งต้องการเอาชนะกันทางอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจด้วย จึงจ�าเป็น

                  ที่จะต้องกล่าวหาว่าอุดมการณ์อื่นใดที่ไม่ใช่ทุนนิยมนั้น ไม่เป็นประชาธิปไตย และก็ด้วยความผิดพลาด

                  ของค่ายสังคมนิยม ที่มีการกลับหัวหลับหาง กลายเป็นการสถาปนาให้ผู้ปกครอง หรือผู้น�านั้นอยู่เหนือ
                  ผู้ปกครองในลักษณะของการเป็นผู้น�าเผด็จการ หนักไปกว่านั้น คือ กลไกและกลยุทธ์ที่ผู้ปกครองเหล่านั้น
                  ใช้กับผู้ใต้ปกครอง หรือประชาชนที่เป็นมวลชน ให้ “เชื่อง” หรือเห็นดีเห็นงามไปกับผู้ปกครอง จนเป็นเหตุ

                  ให้เผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมนั้นเป็นไปได้ และตั้งมั่นอยู่ได้ไม่แพ้ระบบทุนนิยม อีกทั้งเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง




                  26   Larry Diamond, Developing Democracy: Toward Consolidation (JHU Press, 1999).
                  27   Adam Przeworski et al., Democracy and Development: Political Institutions and Well-Being in the

                  World, 1950-1990 (Cambridge University Press, 2000).
                  28   Cas Mudde and Cristóbal Rovira Kaltwasser, eds., Populism in Europe and the Americas: Threat or

                  Corrective for Democracy?, Reprint edition (Cambridge: Cambridge University Press, 2013).
                  29   Russell J. Dalton, Doh Chull Shin, and Willy Jou, ‘Popular Conceptions of the Meaning of Democracy:
                  Democratic Understanding in Unlikely Places’, 18 May 2007, https://escholarship.org/uc/item/2j74b860.
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29