Page 26 - kpiebook67011
P. 26

25







                          ส่วนการปกครองในแบบเบ็ดเสร็จนิยมนั้น แม้ว่าจะมีการใช้อ�านาจจากผู้ปกครองหรือรัฐ
                  ฝ่ายเดียวเช่นกัน แต่ความแตกต่างนั้นอยู่ที่ผู้อยู่ใต้การปกครอง ที่มีความเต็มใจในการอยู่ใต้อ�านาจ

                  หรือไม่ได้มีความกลัวต่อผู้ปกครองเลย ไม่ใช่เพราะผู้ปกครองไม่ได้มีอ�านาจเบ็ดเสร็จ หรือไม่ได้น่ากลัว

                  แต่เพราะผู้ใต้ปกครองนั้นอยู่ในสภาพที่ “เชื่อฟัง” อย่างสมบูรณ์แบบ เช่น ในสิ่งที่อาเรนดท์เรียกว่า
                  เป็น “เผด็จการสมัยใหม่ (modern dictatorship)”   เราอาจเปรียบเทียบได้กับสิ่งที่อันโตนิโอ กรัมชี่
                                                              35
                                                                                                          36
                  เรียกว่า “อ�านาจน�า (hegemony)” ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐแบบเบ็ดเสร็จนิยมถืออยู่ เช่นในยุคของฟาสซิสต์อิตาลี
                  หรือนาซีเยอรมัน ที่ผู้อยู่ใต้การปกครองต่างก็ตระดีว่ารัฐนั้นเป็นเผด็จการ แต่ก็เต็มใจที่จะอยู่ภายใต้

                  อ�านาจและพร้อมจะท�าตามค�าสั่งได้ทุกเมื่อ ซึ่งจะน�าไปสู่ความชินชาของความชั่วร้ายที่จะได้อภิปรายต่อไป
                  แต่จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ การเชื่อฟังของผู้อยู่ปกครองจึงไม่ได้อยู่ในสถานะของการยอมศิโรราบ
                  แบบที่การครอบง�าที่ได้อภิปรายได้ข้างข้น แต่การเชื่อฟังของการอยู่ใต้อ�านาจน�านั้นเป็นการยินยอมพร้อมใจ

                  (consent) ต่อผู้ปกครองที่มีอ�านาจน�า กล่าวคือมีความเต็มใจในการปฏิบัติตาม ไม่ได้เกิดความกลัว

                  และการบังคับขู่เข็นใด ๆ


                          เบ็ดเสร็จนิยม—การครองอ�านาจน�า จึงมีองค์ประกอบที่แตกต่างกับอ�านาจนิยม—การครอบง�า
                  ซึ่งเบ็ดเสร็จนิยมนั้นก็ถือว่าเป็นการครองอ�านาจแบบเผด็จการอีกระดับหนึ่ง ที่มีความแนบเนียนและ
                  สามารถท�าให้ระบอบนั้นตั้งมั่นและคงอยู่ได้เป็นเวลานาน อาเรนดท์จังพยายามศึกษากระบวนการของ

                  เบ็ดเสร็จนิยมในงาน The Origin of Totalitarianism (1951)


                          อาเรนดท์นั้นได้ยกตัวอย่างในสังคมของชาวยิว หลังจากที่มีขบวนการต่อต้านยิวอย่างเป็นระบบ
                  ที่ยิวนั้นสูญเสียภาพลักษณ์ทางสาธารณะ เหลือแต่เพียงสถานะทางการเงินที่ยิวบางคนยังมีความมั่งคั่ง

                  อยู่บ้าง และหลังจากฮิตเลอร์ขึ้นมามีอ�านาจ เขาก็ได้ท�าการกวาดล้างธนาคารในเยอรมัน ท�าให้สถานะ
                  ทางการเงินและความมั่งคั่งของยิวต้องสั่นคลอนไปด้วย ทั้งที่ชาวยิวนั้น สั่งสมชื่อเสียงและสถานะทางสังคม

                  มานับร้อยปี แต่ถูกท�าลายได้เวลาอันสั้น การประหัตประหาร หรือการใช้อ�านาจต่อกลุ่มที่ไม่มีทางสู้นั้น
                  มันก็ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความโหดเหี้ยมของผู้มีอ�านาจเพียงอย่างเดียว และแม้ว่าบางทีมันก็ไม่ใช่ภาพ

                  ที่น่าดู แต่สิ่งที่มันท�าให้มนุษย์นั้นนั้นยอมศิโรราบและยอมทนอยู่กับมัน เพราะ มันกระตุ้นให้เกิด
                  สัญชาตญาณที่มีเหตุผลว่า การใช้อ�านาจมันท�าให้สังคมนั้นสถาปนาความเป็นระเบียบ (order) บางอย่าง

                  และท�าให้สังคมนั้นด�าเนินไปได้ ซึ่งสอดคล้องกับการเกลียดชังคนยิวที่มีเงินแต่ไม่มีอ�านาจ หลังจาก
                  ฮิตเลอร์กวาดล้างยิวออกจากโครงสร้าง/สถานะทางสังคมแล้ว แต่ก็ยังเหลือคนมีเงิน/ร�่ารวยอยู่ ดังนั้น

                  ก็ต้องท�าให้เกิดความเกลียดชังคนร�่ารวยที่ไม่มีอ�านาจและไม่มีความสัมพันธ์ทางสังคมกับสังคมเยอรมัน
                  เพราะคนร�่ารวยที่ไม่มีอ�านาจนั้นอยู่ห่างจากกลไกการขูดรีด เพราะมันได้ตัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

                  ออกไป คนที่เป็นยิวกับคนที่ไม่ใช่ยิวจึงไม่มีส่วนที่เชื่อมโยงกัน ท�าให้คนรับรู้ว่าคนยิวพวกนี้ไม่ต่างจากปรสิต


                  35   Hannah Arendt, The Origins of Totalitarianism (London: Penguin Classics, 2017), 7.
                  36   Antonio Gramsci, Selections from the Prison Notebooks, ed. Quintin Hoare and Geoffrey Nowell Smith,

                  Reprint, 1989 edition (London: International Publishers Co, 1971).
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31