Page 23 - kpiebook67011
P. 23

22      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







                      แม้ว่ากรอบคิดของค�าว่าประชาชนจะเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ตั้งแต่ในยุคสมัยกรีกโบราณ

             ที่ประชาธิปไตยหมายถึงการปกครองโดยคนชั้นล่าง ซึ่งหมายถึงคนหมู่มาก คนชั้นล่างจึงไม่ใช่ชนชั้น
             ที่จะมาปกครอง กรอบคิดแบบประชาธิปไตยจึงไม่ได้มีความหมายในเชิงบวก แต่มีความหมายในเชิงลบ

             แม้ในรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ฉบับแรก หรือใน The Federalist Paper (1788) ก็ไม่ได้ระบุค�าว่า
             ประชาธิปไตย แม้จะมีใจความที่ให้คุณค่าของประชาธิปไตยก็ตาม ค�ากล่าวที่เมืองเก็ตตี้สเบิร์ก

             ในรัฐเพนซิลเวเนีย ของอับราฮัม ลินคอร์น (Abraham Lincoln) อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
             ในปี 1963 ที่กล่าวว่าการปกครองของรัฐบาลเป็นการปกรอง “ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อ

             ประชาชน” ที่มักถูกใช้อ้างว่าเป็นนิยามของการปกครองแบบประชาธิปไตยก็ไม่ได้มีค�าว่าประชาธิปไตย
             ค�าว่าประชาธิปไตยเพิ่งจะมามีความหมายในเชิงบวกเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งเป็นยุคสมัยหลังสงครามโลก

             ครั้งที่สอง ที่มีการแบ่งโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ ในสงครามเย็นหลังจากนั้น ประเทศที่เป็นฝ่ายโลกเสรี
             ที่น�าโดยสหรัฐอเมริกา จึงต้องการสนับสนุนและโฆษณาอุดมการณ์แบบเสรีประชาธิปไตย (Liberal

             Democracy) ซึ่งเป็นการผนวกระหว่างอุดมการณ์แบบเสรีนิยม เข้ากับการปกครองแบบประชาธิปไตย
             ซึ่งเสรีนิยมในที่นี้ จึงรวมถึงหลักการทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (capitalism) ที่สนับสนุนตลาดเสรีด้วย

             ซึ่งแน่นอนว่าตรงกันข้ามกับโลกคอมมิวนิสต์ที่น�าด้วยสหภาพโซเวียต ที่ยึดถืออุดมการณ์แบบสังคมนิยม
             ที่เน้นการให้รัฐเข้าแทรกแซงกลไกตลาด และรัฐอาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตเพื่อแบ่งและกระจาย

             ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม


                      จึงแน่นอนว่างานศึกษาเกี่ยวกับประชาธิปไตยในระหว่างและหลังสงครามเย็น จึงเป็นการนิยาม
                                                                     21
                                                                                     22
             ประชาธิปไตยในแบบเสรีนิยม เช่น ตั้งแต่ โจเซฟ ชุมปีเตอร์   โรเบิร์ต ดาห์ล   ที่เสนอ “เกณฑ์”
             ของการเป็นประชาธิปไตย เช่น สิทธิ์ในการเลือกและได้รับเลือกตั้ง การเลือกตั้งที่อิสระและเป็นธรรม
             การออกเสียงได้อย่างอิสระ เป็นต้น หรือ ซามูเอล ฮันทิงตัน   ที่กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย
                                                                 23
             เป็นลูกคลื่น โดยการมีองค์ประกอบของประชาธิปไตยที่เพิ่มมากขึ้น และเสนอว่าประชาธิปไตยนั้นตั้งมั่น
             อยู่ได้อย่างไร เช่นกัน ที่ชัดเจนที่สุดคือ เซย์มัวร์ มาร์ติน ลิปเซ็ต (Seymour Martin Lipset) ที่อธิบายถึง
             ทฤษฎีความเป็นสมัยใหม่ (Modernization Theory) ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรม

             การกลายเป็นเมือง การศึกษา ความมั่งคั่ง เหล่านี้จะเป็นปัจจัยท�าให้ประชาธิปไตยเติบโตได้     จะเห็นว่า
                                                                                           24 25
             21   Joseph A Schumpeter, Capitalism, Socialism, and Democracy, (London: G. Allen & Unwin ltd, 1943).
             22   Robert Alan Dahl, Polyarchy: Participation and Opposition (Yale University Press, 1971).

             23   Samuel P. Huntington, The Third Wave: Democratization in the Late 20th Century, unknown edition
             (Norman: University of Oklahoma Press, 1993); Samuel P. Huntington, Political Order in Changing Societies
             (Yale University Press, 1996), https://www.jstor.org/stable/j.ctt1cc2m34.
             24   Seymour Martin Lipset, ‘Some Social Requisites of Democracy: Economic Development and Political Legitimacy1’,
             American Political Science Review 53, no. 1 (March 1959): 69–105, https://doi.org/10.2307/1951731; Seymour

             Martin Lipset, Political Man: The Social Bases of Politics, Expanded Edition, Expanded edition (Baltimore:
             The Johns Hopkins University Press, 1981).{\\i{}American Political Science Review} 53, no. 1 (March 1959
             25   Larry Diamond et al., eds., Democracy in Developing Countries: Latin America Edition: 2, Subsequent
             edition (Boulder: Lynne Rienner Pub, 1999).Subsequent edition (Boulder: Lynne Rienner Pub, 1999
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28