Page 18 - kpiebook67011
P. 18

17







                  การเล่าเรื่อง ซึ่งบางครั้งก็ยากแก่การเข้าใจ แต่นั่นก็เพื่อให้ผู้อ่านนั้นขบคิดและถกเถียงไปกับปัญหา

                  และความไม่ต่อเนื่องและความไม่สมบูรณ์แบบของเรื่องเล่านั้น ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยง
                  และความแตกต่างของการใช้ความคิดทางปรัชญาและเหตุผล บริบทความเป็นจริง และการตัดสิน

                  (judgment) คุณค่าของเรื่องเล่านั้น ๆ ซึ่งเป็นรูปแบบของงานเขียนที่มีลักษณะเฉพาะของเธอ เช่น
                  Eichmann in Jerusalem (1960), On Violence (1963), Men in Dark Times (1970), The Life of

                  the Mind (1981) Essays in Understanding, 1930-1954: Formation, Exile, and Totalitarianism
                  (2005) เป็นต้น





                  1.3 ตัวตนกับการเมือง




                          แน่นอนว่าคงไม่มีใครหลุดพ้นออกไปจากความรู้หรือกรอบความคิดแบบใดแบบหนึ่งได้ แม้ว่า

                  จะไม่ได้เป็นความรู้หรือความคิดที่เป็นแบบแผนที่เคยปรากฏอยู่ก่อนหน้า เพราะ ทุกคนต่างก็ได้รับ
                  อิทธิพลมา ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งแทบทั้งสิ้น การถูกจัดเข้าให้ไปอยู่ในประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชา

                  ตลอดจนเรื่องชีวิตส่วนตัวย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเราทุกคนต่างอยู่ในสายตาของคนอื่นเสมอ
                  เมื่อเรามองและพิจารณาสิ่งอื่น เราอาจมีสถานะเป็นองค์ประธาน แต่ในทางกลับกัน เมื่อคนอื่นมองเรา

                  เราก็อาจเป็นเพียงวัตถุขององค์ประธานอื่น ๆ ได้เช่นกัน อาเรนดท์เองก็หนีไม่พ้นสิ่งเหล่านี้ เราต่างก็เป็น
                  ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น เช่นเดียวกับที่ผู้อื่นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรา สิ่งที่ส�าคัญจึงคือ

                  การรับรู้ขององค์ประธานต่างหาก ว่าองค์ประธานแต่ละตนนั้น จะรับรู้วัตถุหรือปรากฏการณ์นั้นได้ว่า
                  อย่างไร แต่สิ่งที่แตกต่างนั้นอาจเป็นเพราะอาเรนดท์ไม่ได้สนใจมากนัก ว่าคนอื่นจะคิดกับเธออย่างไร

                  เช่น เมื่อ ฮันส์ มอร์แกนทาว (Hans Morgenthau) นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผู้เป็น
                  มิตรของเธอได้ถามถึงจุดยืนว่าเธอเป็นเสรีนิยมหรืออนุรักษ์นิยม เธอคิดว่าค�าถามแบบนี้นั้นไม่ค่อยจะ

                  มีสาระ และไม่ได้สนใจเลยว่าเธอจะเป็นอะไร เพราะค�าถามที่แท้จริงในศตวรรษที่ 20 นั้นไม่สามารถ
                                             15
                  ถูกตอบได้ด้วยจุดยืนแบบนั้น   สิ่งที่อาเรนดท์ตอบต่อค�าถามเชิงอุดมการณ์นั้นอยู่ในศตวรรษที่ 20
                  แต่ ณ ปัจจุบันในศตวรรษที่ 21 ก็ยังมีการตั้งค�าถามในลักษณะอุดมณ์การณ์แบบนี้ ซึ่งแน่นอนว่าไม่เพียงพอ
                  ต่อการแก้ปัญหาในปัจจุบัน


                          อีกกรณีหนึ่งที่ส�าคัญคือ กรณีของการเป็นนักวิชาการ “ผู้หญิง” เพราะในปัจจุบันมักมีการทึกทัก

                  เอากันเป็นเสมือนอุปทานหมู่ว่า ไม่แม้แต่นักวิชาการ แต่ผู้หญิงนั้นก็ควรจะต้องเป็น “นักสตรีนิยม
                  (feminist)” แต่อาเรนดท์นั้นเชื่อว่าการเป็นผู้หญิงนั้นไม่ใช่ประเด็น ในตอนที่เธอได้รับการทาบทามให้

                  ด�ารงต�าแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยปริ๊นสตันนั้น เธอเคยแสดงเจตนาว่าจะไม่รับต�าแหน่ง เพราะทาง
                  มหาวิทยาลัยพยายามจะเน้นว่าเธอเป็น “ผู้หญิงคนแรก” ที่จะมารับต�าแหน่งศาสตราจารย์ในหนังสือพิมพ์



                  15   Ibid., 29.
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23