Page 13 - kpiebook67011
P. 13
12 ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์
ในปี 1925 อาเรนดท์ได้ย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาไฮเดลเบิร์ก (University of Heidelberg)
ที่เธอได้พบกับคาร์ล ยาสเปอร์ (Karl Jasper, 1910-1969) นักปรัชญาที่ศึกษาเกี่ยวกับด้านจิตแพทย์
และเทววิทยา ผู้ที่เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกให้กับเธอในเรื่องเกี่ยวกับกรอบคิดของความรัก
ในความคิดของนักบุญออกัสติน (St. Augustine) ใม่เพียงที่อาเรนดท์มีมิตรภาพที่ยาวนานกับยาสเปอร์
และครอบครัว และได้รับอิทธิพลทางความคิดในปรัชญาแบบอัตถิภาวนิยมเท่านั้น แต่อาเรนดท์ยังได้
พยายามส่งออกและกระจายความคิดของยาสเปอร์ไปทั่วโลก ซึ่งความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากยาสเปอร์นี้
ได้ปรากฏอยู่ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเธอ และยังเป็นจุดเริ่มต้นในการท�าความเข้าใจเงื่อนไขของ
สภาววะมนุษย์ ที่เป็นแกนหลักของงานชิ้นที่ส�าคัญที่สุดของเธอชิ้นหนึ่งคือ The Human Condition
(1958) ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
เมื่อเรียนจบปริญญาเอกในปี 1929 เธอก็ได้พบกับสามีคนแรก Günther Stern ในช่วงนี้
5
อาเรนดท์ได้เข้าร่วมกับขบวนการยิวและไซออนิสต์ (Zionism ) ซึ่งเป็นขบวนการทางการเมือง ซึ่งก็อาจ
เป็นเพราะว่า มีขบวนการต่อต้านยิว (anti-Semitism) ในเยอรมนีที่เพิ่มขึ้นและอาจมีความรุนแรงมากขึ้น
และยังต้องพบกับว่าอัตลักษณ์ของชาวยิวนั้นถูกก�าหนดโดยระบอบเยอรมัน จากนั้นเธอจึงเริ่มท�างาน
กับองค์กร German Zionist Organisation ในปี 1933 จึงถูกจับโดย Gestapo หรือต�ารวจลับของนาซี
ในข้อหารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อในการต่อต้านยิว จากนั้นเธอได้ถูกปล่อยตัวในอีก
แปดวันต่อมาโดยต�ารวจที่เห็นใจเธอ จากนั้นเธอจึงออกจากเยอรมันไปยังกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส
โดยไม่มีเอกสารติดตัวไปเลย แม้ว่าจะจ้องตกอยู่ในสภาวะของบุคคลไร้รัฐ แต่เธอก็ยังท�ากิจกรรมทางการเมือง
อย่างแข็งขันกว่าเดิม เป็นเวลาที่เธอท�างานด้านกิจกรรมหนักที่สุดในชีวิต เช่น การก�ากับองค์กรอย่าง
6
Youth Aliyah ที่ช่วยเด็กชาวยิวเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมส�าหรับการอพยพไปยังปาเลสไตน์
จากนั้นในปี 1936 เธอจึงได้พบกับ Heinrich Blücher ผู้อพยพชาวเยอรมันผู้ซึ่งอาเรนดท์นั้น
จะเลิกกับสามีคนแรกและมาแต่งงานกับ Blücher ในปี 1940 และย้ายไปอยู่สหรัฐอเมริกาด้วยกันในปี 1941
เธอยังคงเป็นนักเขียนและบรรณาธิการในนิวยอร์คตลอดเวลาในสงครามโลกครั้งที่สอง และหลังสงคราม
ระหว่างนั้นเธอก็ได้เริ่มเขียนหนังสือและงานเขียนชิ้นที่ส�าคัญอย่าง The Origins of Totalitarianism
(1951) ปีที่หนังสือได้ตีพิมพ์เธอก็ได้รับสัญชาติอเมริกัน ด้วยสมญานามและประสบการณ์ที่ต้องฝ่าฟันมา
5 เป็นทั้งอุดมการณ์และขบวนการชาตินิยม (nationalism) ในหมู่ชาวยิว ทั้งที่เชื่อในการสถาปนาใหม่ และการสนับสนุน
การตั้งถิ่นฐานใหม่ของชาวยิวในแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ และนิยามว่าเป็น “แผ่นดินอิสราเอล” ขบวนการไซออนไนซ์ร่วมสมัย
เกิดขึ้นราวปลายศตวรรษที่ 19 ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ทั้งยังเป็นขบวนการที่เป็นปฏิกิริยา (reactionary)
ต่อขบวนการต่อต้านยิว (ant-semitism) อีกด้วย ซึ่งต่อมาก็ขยับขยายโดยมีเป้าหมายเพื่อก่อตั้งรัฐในดินแดนปาเลสไตน์
(Palestine) ซึ่งต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1948 จึงมีการสถาปนารัฐอิสราเอลส�าเร็จ โดยมีพันธกิจ
ในการส่งเสริมความเป็นเอกราชยิว รวบรวมผู้ถูกเนรเทศ และปลดปล่อยยิวจากการเลือกปฏิบัติจากฝ่ายที่ต่อต้านยิว
อีกทั้งยังจัดการเพื่อความอยู่รอดและควมมั่นคงของยิวตราบจนถึงปัจจุบัน
6 Owens, ‘Hannah Arendt’, 32.