Page 12 - kpiebook67011
P. 12

11






                  1.1 ชีวิตของฮันนาห์ อาเรนดท์




                          ฮันนาห์ อาเรนดท์ (Hannah Arendt, 1906-1975) เป็นชาวเยอรมัน-ยิว ได้ถือก�าเนิดในเมือง

                  Hanover ประเทศเยอรมนี ในปี 1906 ในครอบครัวชนชั้นกลางที่เป็นยิวและเป็นฆราวาส พอล (Paul)
                  พ่อของเธอตายตั้งแต่เธออายุได้ 7 ปี จากนั้นเธอได้ถูกเลี้ยงดูโดยมาร์ธ่า (Martha) ผู้เป็นแม่ของเธอ

                  หลังจากที่ย้ายไปอยู่เมืองโคนิกสเบิร์ก (Königsberg) เธอเป็นคนสนใจและชอบอ่านหนังสือมาก เมื่ออายุ
                  ได้ 16 ปี เธอได้เข้าเรียนในเกี่ยวกับวิชาคลาสสิก ซึ่งเป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับสังคมในยุคโบราณ ทั้งภาษา

                  วรรณกรรม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ และเทวววิทยาคริสเตียน ที่มหาวิทยาลัยเห่งเบอร์ลิน (University
                  of Berlin) และเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมาร์บวร์ก (Marburg University) ในปี 1924 ที่ที่เธอได้พบและ

                  มีความสัมพันธ์กับมาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ (Martin Heidegger, 1889-1976) อาจารย์หนุ่มผู้ที่ได้อุทิศชีวิตให้กับ
                  ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (existentialism) หรือปรัชญาของการมีอยู่  (Existenzphilosophie) ความสัมพันธ์นั้น

                                                                                                  3
                  มีการกล่าวถึงว่าเป็นความสัมพันธ์รักที่เข้มข้นระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ที่ยาวนานถึง 4 ปี

                          แต่แล้วเรื่องที่เป็นสาเหตุใหญ่ของการท�าให้เกิดเรื่องที่ไม่ลงรอยกันของทั้งคู่ก็หนีไม่พ้นเรื่องที่
                  ไฮเด็กเกอร์เองนั้น มีความหลงใหลในระบอบนาซี (Nazi) ที่ก�าลังขึ้นมามีอ�านาจอย่างเปิดเผย เพราะ

                  ตัวไฮเด็กเกอร์เองนั้นเชื่อว่าการต่อต้านยิวเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายที่จ�าเป็น (necessary evil) ในการฟื้นคืนของ
                  ความเป็นชาติของเยอรมนี หลังจากที่เขานั้นได้รับเลือกให้เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยไฟร์บวร์ก

                  (University of Freiburg) ในปี 1933 ไฮเด็กเกอร์ก็ได้กล่าวอวยชัยให้กับก�าลังทหารของนาซีในกลุ่มผู้ฟัง
                  และกล่าวยินดีกับการฟื้นคืนของจิตวิญญาณเยอรมันภายใต้การน�าของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler,

                  1889-1945) ในการกล่าวเปิดตัวในต�าแหน่งของเขา จากนั้นเขาก็ได้เริ่มประกาศห้ามและแบนอาจารย์
                  ที่เป็นชาวยิวในมหาวิทยาลัย รวมถึงเอ็ดมุนด์ ฮุสเซิรล์ (Edmund Husserl, 1859-1938) นักปรัชญา

                  ปรากฏการณ์วิทยาผู้เป็นอาจารย์ที่เขาได้รับอิทธิพลอย่างมาก และเป็นผู้ที่ทั้งไฮเด็กเกอร์และอาเรนดท์
                  ได้เคยศึกษาด้วยทั้งคู่ ซึ่งอาเรนดท์เชื่อว่า เหตุการณ์นี้มีส่วนท�าให้ฮุสเซิรล์นั้นถึงแก่ความตาย ซึ่งก็เป็นเรื่อง

                  ที่เข้าใจได้ไม่ยากเลยว่า ชีวิตของเธอนั้นมีประสบการณ์ที่ยากล�าบาก ตั้งแต่คนรักที่ต่างสถานะ และความรัก
                  จะต้องจบลงเพราะเชื้อชาติ และความเห็นที่แตกต่างต่อการมีอยู่ของเชื้อชาติตนเอง ความซับซ้อนที่ก่อให้เกิด

                  ความผิดหวังครั้งส�าคัญในชีวิต ท�าให้ชีวิตของเธอต้องตกอยู่ในสภาวะแห่งการเมืองโดยไม่ต้องสงสัย
                  จึงเป็นเสมือนสิ่งที่ท�าให้ชีวิตเธอพยายามหาทางออกจากการเมือง แม้ว่าภายหลังจะมีเรื่องเล่าที่ฉายภาพว่า

                  อาเรนดท์นั้นเป็นผู้หลอกลวงทางอารมณ์ต่อไฮเด็กเกอร์ และถูกประณามว่าเป็น “เรื่องอื้อฉาวในวงการ
                  วิชาการ (tabloid scholarship)” แต่ในภายหลังในปี 1979 อาเรนดท์จะกลับมาหยิบยื่นมิตรภาพให้กับ

                                                    4
                  ไฮเด็กเกอร์อีกครั้งหลังจากสงครามจบ



                  3    Elzbieta Ettinger, Hannah Arendt, Martin Heidegger. Yale Univ. Press. 1995., 1995.
                  4    Patricia Owens, ‘Hannah Arendt: A Biographical and Political Introduction’, in Hannah Arendt and
                  International Relations: Readings Across the Lines, ed. Anthony F. Lang and John Williams (New York:
                  Palgrave Macmillan US, 2005), 30, https://doi.org/10.1057/9781403981509_2.
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17