Page 15 - kpiebook67011
P. 15
14 ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์
อาเรนดท์นั้นได้รับอิทธิพลทางความคิดทางปรัชญาทั้งจากไฮเด็กเกอร์และยาสเปอร์ เนื่องจาก
ได้เคยศึกษากับทั้งคู่ ก็มีนักวิชาการหลายคนมีข้อสังเกตที่แตกต่างกันไป เช่น บ้างก็ว่าอาเรนดท์นั้น
ไม่ได้เคยเห็นความผิดพลาดของไฮเด็กเกอร์จนพยายามติดต่อกับเขาหลังจากสงครมโลกครั้งที่สอง
บ้างก็ว่างานของอาเรนดท์นั้นวางอยู่บนวิธีการของไฮเด็กเกอร์ บ้างก็บอกว่างานของอาเรนด์นั้นเป็น
การวิพากษ์ไฮเด็กเกอร์เสียมากกว่า แต่อย่างไรก็ดีกับไฮเด็กเกอร์นั้นเคยเป็นทั้ง “ครู” และ “คู่รัก” ด้วย
8
จึงมีการตั้งข้อสังเกตกันว่าความคิดของเธอน่าจะได้มาจากไฮเด็กเกอร์เสียส่วนใหญ่ มากกว่ายาสเปอร์
ที่แม้จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญาเอก แต่ก็เป็นเพียงเพื่อนที่ดีต่อกันเท่านั้น
แม้ว่าจะเป็นเรื่องแปลกที่ความคิดในเรื่องทางการเมืองของทั้งสามคน อาเรนดท์—ไฮเด็กเกอร์—
ยาสเปอร์นั้น จะมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างที่ทับซ้อนกันอยู่เป็นเสมือนเป็นความคิดแบบสามเส้า
ที่หลังจากสาธารณะไวมาร์ (Weimar republic, 1918 - 1933) นั้นสิ้นสุดลง มีเพียงอาเรนดท์เท่านั้น
ที่เข้าใจว่าขบวนการการต่อต้านยิวที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าเป็นการเปลี่ยนมาสู่ยุคใหม่
คือยุคของนาซี ขณะที่ยาสเปอร์นั้นวิพากษ์วิจารณ์ขบวนการต่อต้านยิวด้วยเหตุผลแบบเสรีนิยมเท่านั้น
แต่ไฮเด็กเกอร์เห็นว่าการต่อต้านยิวเป็นสิ่งชั่วร้ายที่จ�าเป็นในการหล่อหลอมการฟื้นคืนของชาติเยอรมัน
ทั้งสามยังมีมุมมองต่อความเป็นเยอรมันที่แตกต่างกันด้วย ทั้งไฮเด็กเกอร์และยาสเปอร์นั้นเห็นพ้องว่า
ตนมีหน้าที่ในการปรับปรุงบูรณะมหาวิทยาลัยในเยอรมันในนามของการฟื้นคืนชีพของชาติ ฝั่งของ
อาเรนดท์จึงรู้สึก “เป็นอื่น” ในแง่นี้ เพราะความเป็นยิวของเธอที่ถูกแบ่งแยกออกจากความเป็นเยอรมัน
9
แต่ความคิดของทั้งสามในแง่ของวิธีคิดนั้น ยังคงมีส่วนคล้ายกันอยู่
ทั้งสามนั้นมีความมีจุดที่ร่วมกันอยู่ เช่น การมองเห็นถึงวิกฤตของภาวะสมัยใหม่ (modernity)
ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางความคิด อันมีผลมาจากความคิดหรืออุดมการณ์แบบประชาธิปไตยแบบมวลชน
(mass democracy) และเสรีนิยม (liberalism) หรือ การตั้งค�าถามความคิดที่ให้องค์ประธานเป็นศูนย์กลาง
ของความสัมพันธ์กับโลกและสรรพสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลาย เช่น ความคิดแบบจิตนิยม (Idealism) ตั้งแต่เดการ์ต
(Rene Descartes) ที่แยกระหว่างกายกับจิต และการต่อต้านปรัชญาเหนือโลก (transcendental philosophy)
ที่เชื่อว่าความจริงหรือมีสารัตธะ (essence) ที่เป็นจริงและเปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่นอกเหนือบริบทของโลก
และสังคมต่าง ๆ กล่าวคือ ความรู้หรือตัวตนที่เป็นสากลอยู่เหนือกาลเวลาเหล่านี้ รวมถึงความรู้แบบ
อภิปรัชญา (metaphysics) นั้น เป็นสิ่งที่ทั้งสามปฏิเสธทั้งหมด 10
8 Karin Fry, ‘Hannah Arendt and Philosophical Influence’, Research in Phenomenology 50, no. 2 (22 July
2020): 162, https://doi.org/10.1163/15691640-12341445.
9 Antonia Grunenberg and Adrian Daub, ‘Arendt, Heidegger, Jaspers: Thinking Through the Breach
in Tradition’, Social Research 74, no. 4 (2007): 1003–4.
10 Grunenberg and Daub, ‘Arendt, Heidegger, Jaspers’.