Page 19 - kpiebook67011
P. 19
18 ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์
16
New York Times หรือในบทความ ‘On the Emancipation of Women’ ในปี 1933 ที่เธอคิดว่า
เมื่อการเคลื่อนไหวของผู้หญิงเข้าร่วมขบวนการทางการเมือง ขบวนการนั้นก็จะเป็นการรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ไม่แตกต่างกัน ไม่เกี่ยวกับเพศ ซึ่งก็ไม่เคยประสบผลส�าเร็จในฐานะเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมชัดเจน
17
นอกเหนือจากเป้าหมายด้านมนุษยธรรม จะเห็นได้ว่าเธอไม่ได้สนใจและให้ความส�าคัญกับอัตลักษณ์
ในเรื่องเพศ ขณะเดียวกันเธอเลือกที่จะนิยามตัวตนของเธอว่าเธอเป็นยิวอย่างภาคภูมิใจ เธอได้เคยกล่าวว่า
ค�าตอบของเธอเมื่อถูกถามว่า คุณเป็นใครนั้น ตอบได้เลยว่าเป็นคนยิว เพราะนั่นคือค�าตอบที่ค�านึงถึง
ความเป็นจริงของการข่มเหง
18
สังเกตได้ว่า อาเรนดท์นั้น มีความฝังใจกับการที่คนยิวนั้นถูกกระท�าเป็นอย่างมาก ด้วยประสบการณ์
จริงที่ถูกจับกุม ถูกข่มขู่ สอบปากค�า จนต้องหนีออกนอกประเทศด้วยความไม่ยุติธรรมและลัทธิเผด็จการ
และยังร่วมทุกข์ร่วมสุขช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากความตาย การได้เห็นช่วงเวลาที่มืดมนของมนุษยธรรมแบบนั้น
ก็คงจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ อีกทั้งสาเหตุที่เธอถูกเลือกปฏิบัติแบบนั้นก็เป็นเพราะว่าเชื้อชาติของเธอเอง
ที่เป็นยิว ดังนั้น จึงคงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เธอจะพยายามแสดงอัตลักษณ์ของตนเองว่าเป็นยิว เพื่อแสดง
ให้เห็นถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของเชื้อชาติของเธอ แต่แน่นอนว่าความคิดแบบนี้ย่อมมีสองด้าน
เพราะเมื่อผู้ที่ถูกกระท�ารู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรมก็ต้องการทวงความยุติธรรม และเมื่อมีประสบการณ์
ที่ถูกกระท�าแล้ว ก็จะต้องพยายามหาทางป้องกันตัวเอง ความคิดเหล่านี้ยังปรากฏให้เห็นจวบจนในปัจจุบัน
เช่นในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล/ปาเลสไตน์ ซึ่งในยุคสมัยหนึ่งหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจบสิ้น
อาเรนดท์ยังเคยเสนอให้ก่อตั้งกองทัพของชาวยิว ซึ่งยิวนั้นไม่ใช่ประเทศ แต่เป็นเสมือนสังคมที่มีความเชื่อ
ทางศาสนาร่วมกัน การตั้งกองทัพหรือกองก�าลังจึงไม่ได้เป็นเพียงการป้องกันความมั่นคงของชาติหรือรัฐหนึ่ง
แต่หากมองในแง่ร้าย อาจน�ามาซึ่งสงครามทางความเชื่อ ซึ่งรุนแรงกว่าสงครามเพื่อชาติ รัฐ หรืออุดมการณ์
ไหน ๆ ซึ่งก็เคยเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกมาแล้ว จึงเกิดความกลัวว่าอาจจะเกิดสงครามโลกตามมาอีกครั้ง
เพราะในช่วงนั้นความนิยมของอาเรนดท์ในโลกของการเคลื่อนไหวทางการเมืองก็นับว่าสูง ในช่วงทศวรรษ
ที่ 1960 ในการต่อสู้รณรงค์เรื่องสิทธิพลเมือง มีการเกิดขึ้นลัทธิอาเรนดท์ (The Arendt Cult) ซึ่งได้รับ
ความนิยมมีการผลิตแสตมป์ฮันนาห์ อาเรนดท์ มีรางวัลฮันน่าห์ อาเรนด์ สายการบินอย่าง Lufthansa
ของเยอรมนียังมีเครื่องบินฮันน่าห์ อาเรนดท์ ตลอดจนใช้อาเรนดท์เป็นผู้ให้อิทธิพลทางความคิด
ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนั้นบทบาทของเธอในการวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์
จึงมีความส�าคัญต่อการตัดสินใจ หรือกระท�าการของการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเฉพาะการให้ความเห็น
ในเชิงตัดสินต่อสถานการณ์ประจ�าวัน แต่นั่นก็คงจะเป็นแรงผลักดันให้เธอผลิตงานเขียนที่น่าสนใจ
19
ของเธอ ซึ่งจะได้อภิปรายต่อไป
16 Young-Bruehl, Hannah Arendt, 272.
17 Hannah Arendt, Essays in Understanding, 1930-1954: Formation, Exile, and Totalitarianism, 2005, 68.
18 Hannah Arendt, Men in Dark Times, 1970, 17.
19 Laqueur, ‘The Arendt Cult’, 485.