Page 14 - kpiebook67011
P. 14
13
ท�าให้เธอกลายเป็น “ปัญญาชนคนดัง” แม้ว่าจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่างาน Origins นั้นจะเป็นงาน
ที่เรียบง่ายเกินไป เนื่องจากเป็นเพียงการเล่าเรื่องการก่อตัวของลัทธิเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จนิยม
หรือเป็นเพียงการเล่าเรื่องอย่างธรรมดา ๆ ของการเกิดขึ้นของรัฐรัฐหนึ่ง แต่ใจความส�าคัญของงาน
Origins นั้น คือการ “ท�าความเข้าใจ” ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นการท�าความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีคิด
ของทั้งอุดมการณ์และรัฐเอง 7
จากนั้นเธอก็ได้ตีพิมพ์งานที่มีชื่อเสียงอีกหลายงาน เช่น The Human Condition (1958),
Between Past and Future (1961), Eichmann in Jerusalem: A Report on the Banality of Evil
(1963) ระหว่างที่เธอพ�านักอยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นงานที่มีโครงเรื่องที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่เป็น
งานเชิงแนวคิดที่ใช้อธิบายในการมองโลก มองประวัติศาสตร์ พัฒนาการของมนุษย์ ตลอดจนพัฒนาการ
ของกรอบคิดทางการเมืองต่าง ๆ และยังไม่ได้ทิ้งการวิเคราะห์ถึงการกระท�าของนาซีต่อชาวยิว ซึ่งเราจะได้
กล่าวถึงต่อไป ผลงานของเธอเป็นที่ประจักษ์ถึงความน่าสนใจในวงการวิชาการในยุคหลังสงครามโลก
ครั้งที่สองและในระหว่างสงครามเย็น เธอจึงมีโอกาสได้สอนในมหาวิทยาลัยชั้นน�าในสหรัฐอเมริกาอย่าง
ปริ๊นสตัน (Princeton), มหาวิทยาลัยแห่งแคร์ลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ (University of California, Berkley),
มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago), มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) และ
ที่ที่เธอใช้ชีวิตอยู่ถึงวาระสุดท้าย นิวสคูล (New School for Social Research) แม้ว่าเธอจะไม่ได้เคย
อยากเป็นอาจารย์ แต่เธอก็ใช้เวลา 6 เดือนต่อปีไว้เพื่อเขียนหนังสือ
1.2 อิทธิพลทางความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์
แม้ว่าอาเรนดท์จะไม่ได้ถูกจัดอยู่ในส�านักทางความคิดใด ๆ และงานของเธอก็พยายามที่จะไม่ใช้
วิธีการ หรือต่อต้าน โต้แย้งส�านักคิดใด ๆ อย่างเป็นทางการหรือตรงไปตรงมาด้วย จึงไม่ค่อยปรากฏชื่อเธอ
ในงานทางด้านปรัชญา หรือทฤษฎีทางการเมืองกระแสหลักเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีงานเขียน
ที่แตกต่างจากแนวทางกระแสหลัก ก็ไม่ได้หมายความจะไม่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดใด ๆ เลย การศึกษา
ถึงแนวคิดที่นักคิดคนหนึ่งได้รับอิทธิพลมา จึงมีความส�าคัญในแง่ที่จะได้เข้าใจถึงเหตุผลของการเขียนงาน
ของนักคิดนั้น ๆ อีกทั้งยังได้ทราบถึงสาเหตุว่าของและต้นก�าเนิดของความคิดนั้นมาจากไหน ท�าให้
เข้าใจความคิดนั้นได้มากขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีที่มาที่ไป การจะเข้าใจถึงแนวความคิดที่ไม่เป็นไปตาม
ขนบของอาเรนดท์นั้น จึงเป็นการดีที่เราจะท�าความเข้าใจกรอบคิดและหลักการทางปรัชญาของเธอก่อน
เพื่อเสริมความเข้าใจในกรอบคิดที่เราจะได้กล่าวต่อไป
7 Margaret Canovan, Hannah Arendt: A Reinterpretation of Her Political Thought (Cambridge University
Press, 1994).