Page 10 - kpiebook67011
P. 10

9





                                                   บทที่ 1








                       ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการเมือง


                                                         ของ




                                      ฮันนาห์ อาเรนดท์












                          ก่อนที่เราจะเข้าไปท�าความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการทางการเมืองและความเกี่ยวข้องกับ

                  ประชาธิปไตยของฮันนาห์ อาเรนดท์ ผู้วิจัยเห็นว่า เราควรท�าความรู้จักกับอัตชีวประวัติโดยย่อของเธอก่อน
                  จะเป็นประโยชน์แก่การเข้าใจทั้งทฤษฎีและหลักการทางปรัชญาของเธอเป็นอย่างมาก เพราะความคิด

                  ของเธอนั้น ได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ชีวิตอันล�าบากของเธอ กล่าวคือ ความคิดทางการเมือง
                  ที่ถูกกลั่นกรองออกมาเป็นงานเขียนของเธอนั้น ไม่ได้ได้มาจากการนั่งเทียนเขียนเอา หรือมาจากการศึกษา

                  ค้นคว้าจากงานวิชาการเพียงอย่างเดียว หากแต่กลั่นกรองมาจากความทะเยอทะยานและสิ่งที่เธอ
                  ถูกกระท�าจากรัฐ และสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ รอบโลก แม้ว่าจะมีงานที่ค้นว่าเกี่ยวกับชีวประวัติของเธอ

                                                                            1
                  อย่างละเอียด เช่น Hannah Arendt: For love of the World   แต่ในงานวิจัยนี้จะเลือกเฉพาะส่วน
                  ที่มีความส�าคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวคิดหลักที่จะน�าเสนอเท่านั้น จึงเกี่ยวข้องกับการที่บุคคลหนึ่ง

                  ต้องมีสถานะเป็นผู้อพยพ เป็นบุคคลไร้รัฐ โดยเฉพาะในประเทศเยอรมนีในช่วงนาซีครองอ�านาจ-
                  บ้านเกิดเมืองนอนของเธอเอง ประกอบกับการแบ่งแยก/เลือกปฏิบัติจากเชื้อชาติ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเหมือน

                  สภาพแวดล้อมที่กรอบให้เธอมีความคิดแบบหนึ่ง ที่ผู้ที่ไม่ประสบด้วยตัวเองก็คงจะกลั่นกรองออกมาไม่ได้


                          ชีวิตที่ต้องระหกระเหินข้ามน�้าข้ามทะเลข้ามทวีปนั้น คงไม่ใช่ชีวิตที่น่าสนุกนัก กลับกัน มันอาจเป็น
                  ชีวิตที่เป็นดั่งฝันร้ายของใครหลายคน งานเขียนของอาเรนดท์จึงปรากฏออกมาในหลายรูปแบบ ทั้งในเชิง

                  ปรัชญาอย่างเข้มข้น ในทางการเมืองที่ชี้ให้เห็นถึงความชั่วร้ายของระบอบเบ็ดเสร็จนิยม หรือในเชิง
                  พัฒนาการของประวัติศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของความคิด มนุษย์ในฐานะตัวแสดง และ

                  สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความคิดของมนุษย์ การที่เธอมีภูมิหลังในการศึกษาด้านปรัชญาจนถึงชั้นปริญญาเอก
                  ก็ไม่ได้ท�าให้เธอเป็นนักปรัชญาอยู่บนหอคอยงาช้าง และผลิตงานที่เป็นงานทางปรัชญาที่เข้าใจได้ยาก


                  1   Elisabeth Young-Bruehl, Hannah Arendt: For Love of the World, Second Edition (Yale University Press,

                  2004), https://www.jstor.org/stable/j.ctt32bk2f.
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15