Page 11 - kpiebook67011
P. 11

10      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







             และต้องมีกลุ่มผู้อ่านเฉพาะ กลับกันเธอไม่ต้องการเรียกตัวเองว่านักปรัชญาด้วยซ�้า ด้วยประสบการณ์ชีวิต

             ที่ต้องหลบหนี ถูกจับ ถูกสอบปากค�าโดยนาซี ตลอดจนถูกปล่อยตัวและหนีออกนอกประเทศ และ
             ท�างานเพื่อผู้ลี้ภัยให้ไปอยู่ในที่ปลอดภัย งานของเธอนั้นจึงมีความไม่ถือตัว (down-to-earth) ในเชิงปรัชญา

             คือ ไม่ได้ตั้งใจท�าให้งานยากจนอ่านไม่ได้ ไม่ได้จงใจท�าให้ผู้อ่านนั้นสับสนและต้องอาศัยการตีความมาก
             ไม่จ�ากัดการเข้าถึงอยู่ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาแต่เพียงอย่างเดียว ขณะเดียวกัน ในงานของเธอ เมื่อเธอ

             พยายามให้ยกตัวอย่าง หรือพูดถึงเหตุการณ์ในทางการเมือง จึงมีหลักการทางปรัชญามารองรับเสมอ
             ซึ่งก็ไม่ใช่หลักการที่ยกอ้างอิงมาจากนักคิดนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่จากไหน หากแต่เป็นมุมมองที่ใช่เหตุผล

             และความเป็นไปได้ประกอบกับบริบทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจมีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบ และถกเถียง
             นักปรัชญาและนักทฤษฎีทางการเมืองที่เคยมีผลงานมาก่อนหน้า


                      อาเรนดท์จึงพยายามที่จะไม่เข้าไปอยู่ในสาย หรือส�านักใด ๆ ทางปรัชญา หรือแม้แต่อุดมการณ์
             ทางการเมือง ซ้าย/ขวา เพราะนอกจากเธอจะไม่ได้ใส่ใจ แต่เห็นว่าปัญหาของศตวรรษนี้ ซึ่งก็คือศตวรรษ

             ที่ 20 นั้น ไม่สามารถตอบโจทย์ได้เพียงแค่อุดมการณ์ทางการเมืองเท่านั้น ดังนั้นการกรอบตัวเองอยู่เพียง

             แค่ส�านักใด อุดมการณ์แบบใด หรืออยู่ฝ่ายใด ในช่วงเวลาหนึ่ง ก็คงจะไม่มีความส�าคัญเท่าใดมากนัก
             เพราะความคิดของคนนั้นเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปด้วย จึงมีคน
                                                                                                      2
             กล่าวว่าอาเรนดท์นั้น เป็นเหมือนกับ “ผู้ให้ความเห็นทางการเมือง (political commentator)” มากกว่า
             ความคิดของอาเรนดท์จึงเป็นเสมือนเสียงสะท้อนในสถานการณ์โลก โดยเฉพาะช่วงที่เธอมีชีวิตอยู่

             มีเหตุการณ์ความรุนแรง การปฏิวัติ สงครามเย็น ที่เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่ส�าคัญต่อโลกมากมาย
             สิ่งที่เราจะได้ประโยชน์จากความคิดของอาเรนดท์จึงไม่ใช่สูตรส�าเร็จที่จะสามารถน�ามาใช้ได้เลย และก็อาจ
             ไม่สามารถน�ามาย่อยให้ง่ายลงได้เช่นกัน หากแต่เป็นการส�ารวจ ตีความ และน�ามาปรับใช้โดยการมอง

             บริบทของเราในการปรับใช้ ว่าเข้ากันได้มากน้อยแค่ไหน มีองค์ประกอบใดบ้างที่ขาดหาย หรือมีส่วนเกิน

             ที่ไม่เหมือนกัน และจากสถานการณ์ปัจจุบัน เราจะสามารถน�าความคิดไปในทางใดได้


                      ชีวิตของฮันนาห์ อาเรนดท์ จึงมีความน่าสนใจทั้งชีวิตและความคิด เพราะต่างส่วนต่างมีส่วน
             เสริมกัน ส่วนหนึ่งก็เพราะการเมือง ที่ท�าให้ชีวิตของเธอมีสภาพแบบนี้ และก็คงเป็นการเมืองอีก ที่ท�าให้
             เธอสามารถเข้าใจโลก และประกอบอาชีพตลอดจนมีชื่อเสียง และมีความคิดอันส่งผลและคุณูปการณ์

             แก่สังคมโลกได้มากขนาดนี้ ความเป็นการเมืองจึงเสมือนเป็นเรื่องราวหลักในการเล่าเรื่องชีวิตของเธอ

             แรงผลักดันทางการเมืองทั้งทางบวกและลบของเธอท�าให้แม้ว่าในเนื้อหาที่เป็นการให้ความเห็นทางการ
             โดยการหลีกเลี่ยงการเข้าหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้น มีเนื้อหาแบบหนึ่งที่มีความน่าสนใจ และชวนให้หาสาเหตุว่า
             ท�าไมเธอจึงคิดเช่นนั้น หากเรามีความเชื่อว่า ทุกความคิดมีที่มา ความรู้ไม่ได้ตกมาจากฟากฟ้า ชีวิต

             ของอาเรนดท์และบทบาทของเธอในฐานะนักวิชาการและนักปฏิบัติ จะมีความสัมพันธ์กันอย่างน่าสนใจ

             และน่าศึกษาอย่างยิ่ง



             2   Walter Laqueur, ‘The Arendt Cult: Hannah Arendt as Political Commentator’, Journal of Contemporary
             History 33, no. 4 (1 October 1998): 483–96, https://doi.org/10.1177/002200949803300401.
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16