Page 16 - kpiebook67011
P. 16

15







                          เธอมักจะถูกมองว่า ฐานทางปรัชญาของเธอนั้นจะเป็นแบบปรากฏการณ์วิทยาดั้งเดิม คือเป็น

                  การมอง “วัตถุ (object)” “สิ่งที่สนใจ” หรือ “ปรากฏการณ์ (phenomena)” ต่าง ๆ ผ่านมุมมอง
                  ประสบการณ์ หรืออคติของ subject หรือ “องค์ประธาน” ในการมองนั้น ๆ กล่าวคือ การรับรู้ (perception)

                  ขององค์ประธานหนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้นได้ผ่านแว่น (lens) ขององค์ประธาน ซึ่งก็อาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่
                  กับว่าใครเป็นผู้มอง ปรากฏการณ์ที่แต่ละคนนั้นรู้สึกและรับรู้ จึงแตกต่างและมีลักษณะเฉพาะในแต่ละ

                  ความรับรู้ของแต่ละคน แต่ไฮเด็กเกอร์ผู้เป็นครูของอาเรนดท์นั้น ไม่ได้มองแต่องค์ประธานอย่างเดียว
                  แต่มองว่าการที่องค์ประธานจะสมบูรณ์ได้นั้นต้องอาศัยสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากองค์ประธานด้วย ความเป็น

                  ตัวตนหรือสัตตะ (Being) จึงจะสมบูรณ์แบบ การมีอยู่ของตัวตนขององค์ประธานหนึ่ง ๆ จึงจ�าเป็น
                  ที่จะต้องสัมพันธ์กับ “โลก” ที่องค์ประธานนั้น ๆ อาศัยอยู่ด้วย กล่าวคือ สิ่งแวดล้อมหรือสังคม

                  ที่ตัวองค์ประธานนั้นอาศัยอยู่มีอิทธิพลในการประกอบสร้างรูปร่างขององค์ประธานในทุกทาง “สภาวะ”
                  ของสารัตธะของตัวตนที่สมบูรณ์จึงต้องรับรู้ผ่าน “โลก” ที่อาศัยอยู่ หรือโลกที่ตัวตนขององค์ประธานนั้น

                  ถูกโยนเข้าไปอยู่ในนั้น ที่เรียกว่า “Being-in-the-World” (Heidegger 2010, 53-55) การมองกิจกรรมของ
                  สภาวะของมนุษย์ Vita Activa ของอาเรนดท์ ที่มี แรงงาน (labour), ผลงาน (work) และ การแสดงตน

                  (action) (พิศาล 2561) ว่าเป็นสภาวะที่เป็นเงื่อนไข ไม่ใช่เป็น “ธรรมชาติ” ของมนุษย์ที่ตายตัว ดังนั้น
                  กิจกรรมดังกล่าว จึงมีความแตกต่างกันไปในแต่ละ “องค์ประธาน” และสิ่งแวดล้อมขององค์ประธานนั้น


                          หรือความคิดของยาสเปอร์เกี่ยวกับปรัชญาคุณธรรม (moral philosophy) เรื่องของความผิด

                  และความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นค�าถามในเชิงปรัชญาของการมีอยู่เช่นเดียวกัน ซึ่งยาสเปอร์ก็ใช้จุดนี้
                  ในการวิพากษ์วิจารณ์ไฮเด็กเกอร์ในการที่ไฮเด็กเกอร์เข้าร่วมกับนาซีด้วยเหตุผลทางปรัชญาของตัวตน
                                                                                                          11
                  ดังที่กล่าวไปว่าไฮเด็กเกอร์นั้นใช้ปรัชญาในการรับใช้และให้ความชอบธรรมในการยอมรับฮิตเลอร์
                  ซึ่งก็สอดคล้องกับวิพากษ์ไฮเด็กเกอร์ของอาเรนดท์ที่ว่ามุมมองทางภววิทยา (ontology) ของไฮเด็กเกอร์

                  ที่เน้นให้ความส�าคัญในเรื่องของ “โลก” หรือสภาพแวดล้อมที่องค์ประธานหนึ่ง ๆ ถูกโยนเข้าไป และ
                  ต้องหาวิถีทางในการอยู่รอดให้ได้ ที่ไฮเด็กเกอร์เรียกว่า “Being-towards-death” นั้น—เช่นการต้องอยู่
                  ในโลกของนาซี—เป็นการใช้แต่เพียงปรัชญา แต่ไม่ได้มองถึงประเด็นการเมืองนั้น อาจท�าให้ละเลยมุมมอง

                  ที่ถูกต้อง (validity) ไปได้ ซึ่งอาเรนดท์ก็ได้เปรียบเทียบในกรณีของไฮเด็กเกอร์กับเพลโต ที่ใช้ความคิด

                                                                                                          12
                  ในเชิงปรัชญาแต่เมื่อน�ามาปฏิบัตินั้นเกิดความผิดพลาด เพราะไม่สามารถน�ามาใช้จริงในทางปฏิบัติ
                  งานของอาเรนดท์อย่าง The Origin of Totalitarianism (1951) หรือ Eichmann in Jerusalem (1963)
                  จึงไม่ได้ละทิ้งมุมมองทางปรัชญาและยังใส่คุณค่าทางการเมืองที่เธอเห็นว่าถูกต้องและควรจะเป็นอีกด้วย

                  ซึ่งก็เป็นมุมมองของคุณธรรมและความรับผิดชอบที่ได้รับอิทธิพลมาจากยาสเปอร์






                  11   Martin Heidegger and Karl Jaspers, The Heidegger-Jaspers Correspondence, ed. Walter Biemel and
                  Hans Saner, trans. Gary E. Aylesworth (Amherst, N.Y: Humanity Books, 2003), 186–97.
                  12   Fry, ‘Hannah Arendt and Philosophical Influence’, 31–32.
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21