Page 17 - kpiebook67011
P. 17
16 ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์
แต่อาเรนดท์ก็ไม่ใช่นักปรัชญาการเมืองที่เข้าหาส�านักคิดใด ๆ มากไปกว่านั้น เธอยังไม่อยาก
13
ที่จะเรียกตัวเองว่า “นักปรัชญา” ด้วยซ�้า หากแต่ต้องการอธิบายปรากฏการณ์ของการเมืองแบบที่เธอเห็น
จึงไม่จ�าเป็นต้องอิงกับส�านัก แต่นั่นก็ท�าให้การเข้าถึงและความนิยมต�่ากว่านักปรัชญาตามขนบหรือ
ส�านักคิดทั่วไป เพราะการศึกษาปรัชญาในโลกตะวันตก โดยเฉพาะในโลกภาษาอังกฤษ หรือที่เรียกว่า
Anglo-American นั้น ก็จะเน้นศึกษาในเชิงกรอบคิดหรือส�านักคิด เช่น ปรัชญาแบบจิตนิยม (Idealism)
สุขนิยม (Hedonism) วัตถุนิยม (materialism) เสรีนิยม (liberalism) อัตถิภาวนิยม (Existentialism)
ปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) โครงสร้างนิยม (Structuralism) มาร์กซิสม์ (Marxism) นอกจากนี้
ยังมีส�านักคิดที่แยกย่อยลงไปอีก มาร์กซิสม์มนุษย์นิยม (Humanist Marxism) มาร์กซิสม์เชิงวิเคราะห์
(Analytical Marxism) แม้แต่ปรัชญาการเมือง (Political philosophy) ก็ยังถูกแยกออกมาเป็นหมวดหมู่หนึ่ง
หรือแบ่งแยกตามยุคสมัย เช่น ปรัชญากรีกโบราณ (Ancient Greek) ปรัชญายุคกลาง (Medieval
philosophy) ปรัชญาสมัยใหม่ (Modern philosophy) หรือปรัชญาหลังสมัยใหม่ (Post-Modern
philosophy) หรือแม้แต่ปรัชญาร่วมสมัย (contemporary philosophy) นอกจากนี้ยังมีการแบ่งตามพื้นที่
เช่น ปรัชญาพื้นทวีป (Continental philosophy) ที่มีวิธีคิดแตกต่างกับปรัชญาเชิงวิเคราะห์ (Analytic
philosophy) เป็นต้น แม้ว่าจะมีการพยายามจัดให้อาเรนดท์ไปอยู่ในหมวดหมู่ของหลังสมัยใหม่
14
เนื่องจากเธอมักมีงานเขียนที่ไม่ใช้การอธิบายตามเรื่องเล่ากระแสหลัก (meta-narrative) ซึ่งเพียงแค่นั้น
คงจะไม่สามารถจัดใครเข้าไปอยู่หมวดหมู่ของหลังสมัยใหม่ได้ มิเช่นนั้น งานเขียนของทุกคนก็คงจะเป็น
หลังสมัยใหม่หมด เพราะต่างคนก็ต่างผลิตเรื่องเล่าของตัวเองทั้งสิ้น
นอกจากนี้อาเรนดท์ยังได้มีการใช้ความคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมืองแนวของมาร์กซ (Marxism)
ที่มีการอธิบายถึงการแบ่งชนชั้นทางเศรษฐกิจเป็นสองชนชั้น คือ ชนชั้นนายทุน (bourgeoisie)
ที่ถือปัจจัยการผลิต และชนนั้นแรงงานที่ไม่ได้เป็นผู้ถือปัจจัยการผลิตและท�างานโดยใช้แรงงานแลกกับ
ค่าจ้างจากนายทุน (Marx and Engels 2014, 23-25) และใช้กรอบความคิดเกี่ยวกับแรงงานกับความสัมพันธ์
ทางการผลิต (Marx and Mandel 1992, 172-176) ในการอธิบายการเกิดขึ้นของลัทธิเบ็ดเสร็จนิยม
โดยการสลายชนชั้น และอธิบายกิจกรรมของสภาวะมนุษย์ Vita Activa โดยใช้กรอบคิดแบบมาร์กซิสต์
แต่ก็ไม่ได้ใช้ความคิดแบบมาร์กซิสต์เพื่อบรรลุจุดประสงค์ทางการเมือง อาเรนดท์จึงไม่ได้ควรถูกจัดอยู่
กลุ่มผู้ที่อยู่ในลัทธิมาร์กซเช่นกัน เพียงแต่ใช้ค�าอธิบายและน�ามาอธิบายต่อ โดยการสร้างค�าอธิบายใหม่
และข้อโต้แย้ง (argument) ของทฤษฎีหรือกรอบคิดเก่าที่มีอยู่แล้ว
งานของอาเรนดท์จึงไม่ใช่เพียงแค่งานแบบที่มีการเล่าเรื่องที่เป็นความเรียงของความเป็นไป
ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแตกต่างไปจากงานทางปรัชญา ประวัติศาสตร์ หรือรัฐศาสตร์ทั่ว ๆ ไป การเสนอ
มุมมองของอาเรนดท์จึงเป็นไปในแบบที่ไม่ได้เป็นไปตามวิธีวิทยาตามขนบทั่วไปที่เป็นระบบระเบียบ
เธอพยายามที่จะเข้าถึงปรากฏการณ์ในแบบที่ลงลึกที่สุด ซึ่งก็เป็นการวิพากษ์ถึงปัญหาไปพร้อม ๆ กับ
13 Hannah Arendt, The Life of the Mind, ed. Mary McCarthy (Boston: Mariner Books, 1981), 3.
14 Owens, ‘Hannah Arendt’, 35.