Page 22 - kpiebook67011
P. 22

21





                                                   บทที่ 2








                                  อะไรคือสาเหตุให้เกิด


                                     ลัทธิเบ็ดเสร็จนิยม













                          บทนี้จะเป็นการฉายภาพให้เห็นถึงความเห็นของอาเรนดท์ต่อการปกครองโดยลัทธิหรือ

                  ระบอบการปกครองแบบเบ็ดเสร็จนิยม ว่ามีที่มา และมีลักษณะที่ส�าคัญอย่างไร และอะไร ท�าให้ระบอบ
                  การปกครองแบบเบ็ดเสร็จนิยมเหล่านี้ ยังสามารถตั้งมั่นต่อไปได้และมีพลัง ทั้งที่เป็นการปกครอง

                  ที่ไม่ได้ให้ประโยชน์อันสูงสุดแก่ผู้อยู่ใต้การปกครอง ซึ่งส่วนมากมักเป็นผลมาจากการปฏิวัติที่ไม่ส�าเร็จ
                  จากอุดมการณ์การปฏิวัติไปสู่งสังคมคอมมิวนิสม์ที่มีความเท่าเทียมในทางเศรษฐกิจ ไปสู่การกลับตาลปัตร

                  ไปเป็นฝ่ายขวาที่เน้นการใช้อ�านาจและอุดมการณ์ครอบง�าประชาชน หรือเป็นฝ่ายซ้ายกลางที่ใช่นโยบาย
                  แบบเสรีนิยมใหม่   อันเป็นแนวทางที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์ของการปฏิวัติ เช่น การปฏิวัติรัสเซีย
                                  20
                  การปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน หรือการขึ้นมามีอ�านาจของพรรคที่มีลักษณะแนวทางแบบสังคมนิยมเป็น
                  อัตลักษณ์ เช่น พรรคฟาสซิสต์ในอิตาลี หรือนาซีในเยอรมัน เหล่านี้กลับเป็นบ่อเกิดของความเป็นต้นแบบ

                  ของความเป็น “เผด็จการ” ที่เป็นเบ็ดเสร็จนิยมทั้งสิ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดขวางการเกิดขึ้นของประชาธิปไตย


                          แน่นอนว่า มีการถกเถียงว่าประชาธิปไตยจ�าเป็นต้องอยู่ตรงกันข้ามกับคอมมิวนิสม์หรือสังคมนิยม
                  หรือไม่ ในฐานะที่คอมมิวนิสม์และสังคมนิยมนั้นเป็นอุดมการณ์และลัทธิทางเศรษฐศาสตร์การเมือง

                  คือ มีมิติในเชิงเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องและเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนการเมือง แต่ประชาธิปไตยนั้น
                  เป็นกรอบคิดและระบอบการปกครองที่เน้นหนักไปในปริมณฑลของการเมืองเป็นหลัก แต่แม้ว่าสังคมนิยม

                  หรือคอมมิวนิสม์จะเป็นอุดมการณ์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ แต่ก็สามารถแสดงมิติทางการเมืองที่เป็น
                  ประชาธิปไตยได้ไม่น้อย เช่น การกระจายความมั่งคั่งให้เกิดความเท่าเทียมและยุติธรรม หรือการอยาก

                  ให้มีความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ แม้ว่าสังคมคอมมิวนิสม์ในฝันจะยากที่จะจินตนาการ แต่นั่นก็คือ
                  การท�าให้คนเท่ากันแบบที่หลักการของประชาธิปไตยอยากให้เป็น เช่น การมีสิทธิ์ในการออกเสียงที่เท่ากัน

                  ของประชาชน น�าไปสู่แนวคิดแบบคนเท่ากัน เพราะประชาธิปไตยคือการปกครองโดยประชาชน หรือ
                  demos ในภาษากรีก ประชาธิปไตยจึงเป็นการปกครองที่ต้องการให้คนเท่ากัน ในแง่ที่ทุกคนคือประชาชน




                  20   Boris Kagarlitsky, ‘The Unfinished Revolution’, New Left Review, no. I/226 (1 December 1997): 155–59.
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27