Page 5 - kpiebook67011
P. 5

4       ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์





                                      ค�ำน�ำผู้เขียน














                      หนังสือเล่มนี้เป็นการปรับปรุงจากงานวิจัยเรื่อง “ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์”

             ภายใต้โครงการจับตาสถานการณ์ความรู้ด้านการพัฒนาประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า โดยมีจุดประสงค์
             เพื่อท�าความเข้าใจฐานคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์ จากประสบการณ์ชีวิตของเธอโดยตรง ที่น�าไปสู่การก่อตัว

             ของประเด็นทางการเมืองและสังคมที่เธอสนใจ และน�ามาสู่ความคิดของเธอต่อ “ประชาธิปไตย” ในที่สุด
             แม้ว่าเธอจะไม่เคยนิยามหรือกล่าวถึงประชาธิปไตยโดยตรงก็ตาม แต่การอธิบายกรอบคิดทางปรัชญา/

             ทฤษฎีการเมืองของเธอนั้น สามารถสรุปความในเรื่องประชาธิปไตย และกลไกทางการเมืองของเธอได้
             กล่าวคือ ภายใต้ความคิดทางปรัชญาและทฤษฎีของเธอนั้น จริยศาสตร์ทางการเมืองของเธอคือการแสวงหา

             ประชาธิปไตยในรูปแบบที่เธอคิดว่าควรจะเป็น และจะเป็นสิ่งที่ดีต่อสังคมการเมืองทั้งระดับรัฐและระดับโลก


                      หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการส�ารวจองค์ความรู้ด้านประชาธิปไตยผ่านนักคิดทางการเมืองที่ส�าคัญที่สุด
             คนหนึ่งของศตวรรษที่ 20 ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่กับความคิดทั้งในด้านฐานคิดทางปรัชญา การเมือง

             และเศรษฐกิจของอาเรนดท์ แต่ความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์ ก็เป็นอีกความคิดหนึ่งที่ยังร่วมสมัย
             และต้องการรอให้นักศึกษา นักวิชาการ และผู้ที่สนใจ มาศึกษา ท�าความเข้าใจ เพื่อน�าไปถกเถียงและ

             ปรับใช้จริงในสังคม อีกทั้งจะเรียกว่าเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมือง ให้มีการพูดคุยกันมากขึ้น
             ตามกรอบคิด “การแสดงตน” ซึ่งเป็นกรอบคิดหลักในการท�าความเข้าใจประชาธิปไตยของอาเรนดท์

             ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดต่อไป

                      หนังสือเล่มนี้จึงแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนแรก ในบทที่ 1 ถึง บทที่ 3 เป็นการศึกษาประชาธิปไตย

             ผ่านสายธารทางความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์ ผ่านภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่การมีประสบการณ์ชีวิต

             ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การย้ายถิ่นฐานเพราะการเมือง ไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ งานเขียน
             ของฮันนาห์ อาเรนดท์ จึงเป็นงานเขียนที่นอกจากจะมีรากฐานทางปรัชญาการเมืองแล้ว ยังกลั่นกรอง
             ออกมาจากจิตวิญญาณของประสบการณ์ที่เธอได้ประสบพบเจอมาในชีวิตจริง ซึ่งเธอได้กล่าวถึงความเป็นมา

             และลักษณะของเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม ไปจนถึงการปฏิวัติ และความยุติธรรม


                      ส่วนที่สอง ในบทที่ 4 ถึง บทที่ 6 จะว่าด้วยความคิดเรื่องประชาธิปไตยผ่านกรอบคิดในเชิง

             ปรัชญาและทฤษฎีของฮันนาห์ อาเรนท์ ตั้งแต่ฐานคิดจากกรอบคิด Vita Activa ที่เชื่อมโยงไปถึงลักษณะ
             การเมืองในยุคสมัยกรีกแบบอริโตเติล มาจนถึงเรื่องสถาบันทางการเมืองในปัจจุบัน จึงเป็นข้อถกเถียง
             ที่ล้วนแล้วแต่มีความส�าคัญต่อการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง

             ของประชาชน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10