Page 33 - kpiebook67011
P. 33

32      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







                      หากมองเปรียบเทียบกับการท�าลายชนชั้นเพื่อให้เกิดสิ่งที่ถูกเรียกว่าเป็น “ชนชั้นกลาง” ที่ท�าลาย

             ชนชั้นทางเศรษฐกิจ การเข้าท�าลายระบบรัฐสภาก็คือการท�าลายความเป็นโครงสร้างของสถาบันทางการเมือง
             ขบวนการเบ็ดเสร็จนิยมจึงใช้เสรีภาพของประชาธิปไตยเพื่อท�าลายเสรีภาพของประชาธิปไตยด้วยตัวมันเอง

             เพราะเสรีภาพนั้นเป็นสิ่งที่พลเมืองควรได้รับอย่างเสมอหน้าตามกฎหมาย แต่ค�าว่าพลเมืองนั้นนับใครบ้าง
             พลเมืองจึงเป็นสิทธิพิเศษให้กับคนที่มีสถานภาพเฉพาะอย่างหนึ่งทางสังคม ทุกคนจึงไม่ได้ถูกนับเป็น

             พลเมืองเท่ากัน กรอบคิดแบบพลเมืองนี้จึงใช้ไม่ได้ส�าหรับมวลชน เสรีภาพและประชาธิปไตยจึงเป็นของคน
             ที่มีสถานภาพหนึ่ง ๆ เท่านั้น ดังนั้น จึงต้องท�าลายความไม่เท่ากันของชั้นหรือสถานภาพทางสังคมด้วย

             หลังจากที่ต้องท�าลายชนชั้นไปแล้ว


                      การท�าลายทุกอย่างของมวลชน เพื่อให้เกิดความเป็นมวลชนที่เหมือนกัน ท�าให้ไม่เหลืออะไร
             เป็นที่ยึดเหนี่ยว การหมดศรัทธาและความเชื่อถือต่อระบบการเมืองปัจจุบันที่เป็นอยู่ เช่น ระบบรัฐสภา
             หรือแม้แต่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม แต่ก็ไม่รู้ว่าจะไปทางใดต่อ เพราะพื้นฐานของการเกิดขึ้นของมวลชน

             คือการต่อต้านและท�าลายล้าง เมื่อขบวนการนั้นเดินทางมาถึงจุดที่มวลชนนั้นพบกับปัญหาวิกฤตศรัทธา

             ที่ว่าทุกอย่างอาจเป็นไปได้และไม่มีอะไรที่ถูกต้องจริงแท้ การโฆษณาชวนเชื่อจึงเป็นเครื่องมือที่ส�าคัญ
             ในการเคลื่อนไหว   บุคคลส�าคัญที่จะก�าหนดทิศทางในการเคลื่อนไหวไปสู่ความส�าเร็จจึงเป็น “ผู้น�า”
                              53
             ที่มีบารมีมีความสามารถในการจัดการและควบคุม ผ่านการโฆษณาชวนเชื่อให้มวลชนเชื่อฟังได้

             และมวลชนก็พร้อมที่จะเชื่อฟังไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ประการใดก็ตาม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้น�าก็จะต้อง

             เป็นผู้ที่สามารถท�าให้มวลชนนั้นเชื่อฟังได้ เบ็ดเสร็จนิยมจึงไม่ได้เป็นการกระท�าของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียง
             ฝ่ายเดียว หากแต่เป็นการกระท�าร่วมกันของทั้งผู้น�าและมวลชน โดยมีมวลชนเป็นก�าลังขับเคลื่อนหลัก
             และมีผู้น�าเป็นเพียงผู้ก�าหนดทิศทางเท่านั้น ระบอบเบ็ดเสร็จนิยมจะตั้งมั่นอยู่ได้ ก็ด้วยแต่มวลชน

             ที่คอยค�้าจุนให้อุดมการณ์แบบนี้อยู่รอดไปได้ ดังนั้น ระบอบเบ็ดเสร็จนิยมจึงท�าลายความชอบธรรม

             ของ “อ�านาจชอบธรรม” ของรัฐ/รัฐบาล ไปได้ในที่สุด เพราะ การเคลื่อนไหวแบบเบ็ดเสร็จนิยมดังกล่าว
             ไม่ต้องการรูปแบบ หรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ของสถาบันทางการเมือง เนื่องจากการมีอ�านาจชอบธรรม
             ต้องอาศัยการยึดมั่น/ยึดโยงในกฎเกณฑ์หรือสถาบันทางสังคมบางอย่าง จึงไม่จ�าเป็น และถูกท�าลายลง

             อ�านาจรัฐและรัฐบาล จึงหมดความส�าคัญลงไปพร้อม ๆ กับอ�านาจอันชอบธรรมหรืออ�านาจรัฐนั้น ๆ   54


                      ที่กล่าวมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ เรื่องชนชั้น การพยายามท�าลายความแตกต่างและระบบ

             สังคมแบบเดิมเพื่อสถาปนาสิ่งใหม่นั้น ล้วนเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยมวลชนที่เป็นหนึ่งเดียว ที่ต้องปราศจาก
             พันธนาการทางสังคม ที่ถูกท�าลายไปแล้วทั้งสิ้น การพยายามเหมารวมว่า มนุษย์ ที่เป็นประชากรในรัฐ
             หนึ่ง ๆ นั้นเป็นประชาชนเหมือนกัน จึงเป็นจุดก�าเนิดในการลดทอนความเป็นองค์ประธานของมนุษย์

             ที่มีภูมิหลังที่แตกต่างกัน มาเป็นมวลชนที่มีความเหมือนกัน มีส�านึกบางอย่างร่วมกัน ที่พร้อมจะกระท�าการ

             บางอย่างให้บรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน เบ็ดเสร็จนิยมจึงพยายามสร้างส�านึกตรงนี้ ผ่านการโฆษณาชวนเชื่อ


             53   Ibid., 500.
             54   Arendt and Kohn, Between Past and Future, 91–92.
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38