Page 36 - kpiebook67011
P. 36

35










                                                   บทที่ 3







                       ความชินชาของความชั่วร้าย













                          Eichmann in Jerusalem: A Report on the Banality of Evil (1963)   เป็นงานศึกษา
                                                                                             55
                  ที่เป็นรายงานเกี่ยวกับการไต่สวน (trials) ของออตโต้ อดอล์ฟ ไอค์แมน (Otto Adolf Eichmann)
                  นายทหาร S.S. (Schutzstaffel) ซึ่งเป็นกองก�าลังทหารของพรรคนาซี ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการฆ่า

                  ล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวไม่น้อยกว่า 4 ล้านคน งานชิ้นนี้เป็นรายงานที่อาเรนดท์เขียนเพื่อวิเคราะห์ค�าให้การ
                  ในการไต่สวนโดยผู้พิพากษาในเมืองยารูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นเมืองของชาวยิว หลังจากที่

                  สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง การไต่สวนเป็นไปเพื่อท�าความเข้าใจเหตุผลของการฆ่า ซึ่งเป็นการก่อ
                  อาชญากรรมที่ร้ายแรง และเพื่อให้รับรู้ถึงความคิดของนาซีต่อการท�าอาชญากรรมนั้น ซึ่งไอค์แมน

                  เป็นหนึ่งในบุคคลส�าคัญที่จะท�าให้เข้าใจถึงค�าถามดังกล่าว และยังเป็นกรณีศึกษาที่ราคาแพงของมนุษยชาติ
                  ในเวลาต่อมา ซึ่งการศึกษาในรายงานชิ้นนี้ท�าให้เราได้เห็นถึงเหตุผลของปฏิบัติการของนาซี ที่ผู้ปฏิบัติการ

                  อันโหดร้ายนั้นไม่ได้รู้สึกว่าตนมีความผิด และไม่ได้รู้สึกโกรธหรือเกลียดเหยื่อเป็นการส่วนตัว แต่ท�าไป
                  เพราะหน้าที่ และค�าสั่งที่ได้รับมาเท่านั้น จึงเป็นที่มาของวลี ‘banality of evil’ หรือ “ความชินชา

                  ของความชั่วร้าย” ซึ่งเป็นการมองเห็นความชั่วร้ายและการกระท�าอันเลวร้ายนั้นกลายเป็นเรื่องธรรมดา
                  ซึ่งเจ้าตัวไอค์แมนก็ยังได้กล่าวว่าเขาไม่ได้มีความเกลียดชังต่อเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่ง โดยเฉพาะยิว


                          ความชั่วร้ายในแง่นี้จึงเป็นความชั่วร้ายที่ปัจเจกหนึ่ง ๆ สามารถลงมือกระท�าไปได้อย่างไม่รู้สึกว่า

                  มันคือความชั่วร้าย เพราะสาระส�าคัญหรือแก่นแกนความหมายของความชั่วร้ายนั้นแตกต่างกันออกไป
                  ความชั่วร้ายจึงไม่ได้หมายความถึงการเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือ

                  การไม่ค�าถึงถึงมนุษยธรรมแต่เพียงเท่านั้น แต่อาจหมายถึงการกระท�าของปัจเจกเป็นเราทุกคนที่อาจน�า
                  ไปสู่ผลลัพธ์ที่เกิดความเลวร้ายได้ ความชั่วร้ายดังกล่าวจึงต้องเป็นการส�ารวจตัวเองว่าการกระท�าตลอดจน

                  การแสดงตนนั้น เป็นไปและมีแนวโน้มจะกลายเป็นความชั่วร้ายได้หรือไม่ ในบทนี้จึงจะเป็นการใช้กรณี
                  ของไอค์แมนในช่วงที่เขาเข้าร่วมกับพรรคนาซีและเป็นผู้ส่วนร่วมในการสั่งการให้เกิด ‘Final Solution’


                  55   Hannah Arendt and Amos Elon, Eichmann in Jerusalem: A Report on the Banality of Evil,
                  Revised Edtion (London: Penguin Classics, 2006).
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41