Page 32 - kpiebook67011
P. 32

31







                  แต่ขณะเดียวกัน เบ็ดเสร็จนิยมก็ต้องการมวลชน ซึ่งเป็นประชากรของรัฐในการเป็นเครื่องมือ การกระท�า

                  ที่ต้องลดจ�านวนประชากรจึงไม่ใช่ผลดีต่อเบ็ดเสร็จนิยมเช่นกัน

                          มวลชนที่กล่าวถึงจึงเป็นมวลชนที่ไม่ได้ยึดโยงกันด้วยผลประโยชน์ และไม่มีความสัมพันธ์

                  ทางชนชั้น รวมถึงมีเป้าหมายร่วมกัน พวกเขาไม่ได้แยแสต่ออะไรในสังคมขนาดนั้น จึงไม่ได้มีจุดร่วมกัน

                  ในการเป็นสมาชิกในองค์กร พรรคการเมือง หน่วยงานราชการ อาชีพ หรือกระทั่งสหภาพแรงงาน
                  จริง ๆ แล้ว มวลชนเหล่านี้อาจมีอยู่ในทุก ๆ ประเทศ และเป็นคนจ�านวนมากที่ไม่ได้แยแสทางการเมือง
                                                                                                 50
                  มากมาย ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และอาจไม่ได้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งด้วยซ�้า   กล่าวคือ
                  มวลชนเหล่านั้นมีลักษณะเป็นปัจเจกชน (individualistic) ที่ถูกแยกออกจากสังคม และไม่ได้เป็นผู้ที่

                  มีความกระตือรือร้นเพื่อมีส่วนร่วมทางการเมือง (political engagement) มากนัก เช่น ในยุคที่นาซี
                  ในเยอรมนี และขบวนการคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ในยุโรปหลังปี 1930 ขบวนการเหล่านี้แต่งตั้งสมาชิก
                  จากมวลชนที่เป็นผู้ที่ไม่แยแสต่อการเมืองเหล่านี้ ที่องค์กรหรือสถาบันทางสังคมอื่น ๆ เอาพวกเขาแล้ว

                  ส่งผลท�าให้สมาชิกของพรรคเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่เคยปรากฏอยู่ในแวดวงการเมือง การท�าแบบนี้

                  ไม่เพียงแต่เป็นการท�าให้การชี้น�าของขบวนการเป็นไปได้ง่ายขึ้น เพราะ ไม่เกิดการโต้เถียง— เนื่องจาก
                  พวกเขาไม่ได้แยแสอะไรอยู่แล้ว— แต่ยังเป็นการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองแบบใหม่ ที่ต่อต้านระบบ
                  พรรคการเมืองที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบ มาเป็นพรรคการเมืองแบบที่สมาชิกพรรคไม่สามารถเข้าถึง

                  และไม่ได้ถูกสปอยล์จากระบบพรรคการเมือง   51


                          อย่างที่ได้กล่าวไป ระบอบเบ็ดเสร็จนิยม เป็นระบอบที่การเคลื่อนไหวของมันต้องการให้คนนั้น

                  อยู่ห่างจากการมีส่วนร่วมของพลเมือง (civic engagement) ให้ได้มากที่สุด กล่าวคือ หากการเป็นพลเมือง
                  คือการเข้าอกเข้าใจความส�าคัญของการรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ผ่านการมีส่วนร่วมไม่ว่าจะทางการเมือง
                  หรือทางสังคมอื่น ๆ ใดด้วยแล้ว เบ็ดเสร็จนิยมต้องการที่จะตัดพันธะนั้นออกจากประชาชนทุกคน

                  ให้กลายเป็นปัจเจกชนที่มารวมกันเป็นจ�านวนมาก ให้กลายมาเป็นมวลชนที่ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องแยแส

                  กับอะไรมาก จึงสามารถเป็นเครื่องมือให้กับระบอบได้มีประสิทธิภาพมาก ความส�าเร็จของขบวนการ
                  เบ็ดเสร็จนิยมจึงเปิดให้เห็นถึงภาพลวงตาในระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่ประชาชนเลือกตัวแทน
                  เข้าไปท�าหน้าที่ในปกครอง แต่มวลชนก็ท�าให้เห็นว่ามวลชนที่ไม่ได้แยแสทางการเมืองนี่แหละสามารถ

                  เป็นเสียงข้างมากที่แท้จริงในการปกครองเองได้เลย ขณะที่ประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายที่ใช้ระบบ

                  ตัวแทนนั้น แท้จริงแล้วคือการปกครองด้วยเสียงข้างน้อย เหล่าตัวแทนนั้นปกครองบริหารโดยไม่ได้
                  มีความยึดโยงกับประชาชนเลย เพียงแต่ยึดติดกับสถาบันและองค์กรต่าง ๆ เท่านั้น แต่มวลชนนั้น
                  ได้แสดงให้เห็นว่าระบบตัวแทน ระบบรัฐสภาที่มีอยู่นั้น เป็นเพียงภาพลวงตาของประชาธิปไตย

                  ความไม่เชื่อมั่นในระบบตัวแทนจึงเป็นที่มาของการอ้างว่าระบบกฎหมู่ (majority rule) นั้นสะท้อน

                  ความเป็นจริงของสังคมมากกว่ารัฐธรรมนูญ
                                                         52
                  50   Ibid., 407.
                  51   Ibid., 408.

                  52   Ibid., 409.
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37