Page 56 - kpiebook67011
P. 56
55
จะเห็นว่าแนวคิดเช่นนี้ท�าให้ค�าว่าการเมือง หรือชีวิตทางการเมืองในความหมายของกรีกโบราณ
แตกต่างไปจากความหมายในปัจจุบัน ซึ่งอาเรนดท์เห็นว่าหลังจากยุคของออกุสตีเนแล้ว ความเข้าใจ
ในเรื่องพลเมืองได้เปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงจากความล่มสลายของนครรัฐแบบโบราณ ด้วยเหตุนี้ Vita activa
จึงสูญเสียความหมายในทางการเมืองของมันไปและกลายมามีความหมายถึงกิจกรรมใดก็ตาม ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับโลกในความหมายที่กิจกรรมนั้นอยู่ในขั้นตรงข้ามกับโลกที่เงียบสงบของโลกแห่งความครุ่นคิดและปรัชญา
กล่าวอีกนัยหนึ่งการเสื่อมสูญของนครรัฐได้เปลี่ยนแปลงให้ชีวิตทางการเมืองกลายเป็นเรื่องของความจ�าเป็น
และทิ้งชีวิตอันเป็นอิสระไว้ให้เหลือเพียงกิจกรรมประการเดียวคือกิจกรรมทางปัญญาอย่างการถกเถียง
ทางปรัชญาแต่เพียงแค่นั้น ในแง่นี้ชีวิตและกิจกรรมทางการเมืองจึงเป็นสิ่งที่ถูกลดบทบาทและความส�าคัญ
ให้เป็นเพียงกิจกรรมทางโลกอันไม่สามารถเทียบเคียงความส�าคัญกับกิจกรรมทางจิตวิญญาณอันสูงส่งได้
แต่กระนั้นอาเรนดท์ก็เห็นว่าการยกให้ชีวิตทางการเมืองเป็นสิ่งที่อยู่ในขั้วตรงข้ามกับชีวิตในทาง
ปรัชญานี้หาได้เพิ่งเกิดขึ้นภายใต้แนวคิดแบบคริสเตียน หากแต่ได้สืบทอดมาจากรากฐานที่ปรากฏอยู่ตั้งแต่
ในยุคกรีกโบราณแล้วเช่นกัน โดยที่เธออธิบายว่าในขณะที่สังคมการเมืองของกรีกโบราณโดยทั่วไปนั้น
ให้คุณค่ากับชีวิตทางการเมืองในฐานะของกิจกรรมอันสูงส่งและมีความเป็นเสรี นักปรัชญาอย่างเพลโต
กลับเสนอแนวคิดเรื่องของรัฐอันเป็นอุดมคติซึ่งมีผู้น�าเป็นนักปรัชญา และแนวคิดเช่นนี้ก็ยังส่งต่อผ่านมา
ทางอริสโตเติล ซึ่งเห็นว่าชีวิตซึ่งถูกชี้น�าโดยปรัชญาและการครุ่นคิดเป็นชีวิตส�าคัญที่อยู่เหนือไปจาก
ชีวิตที่แสวงหาความสุขในทางกาย และชีวิตในทางปรัชญานี้ก็เป็นชีวิตที่แยกออกจากชีวิตทางการเมือง
ด้วยเป็นชีวิตของผู้ที่มีเวลาและทรัพยากรเพียงพอที่จะตัดขาดจากกิจกรรมที่ว่าด้วยความจ�าเป็นทั้งมวล
อีกด้วย สิ่งนี้เองที่เป็นรากฐานให้กับแนวคิดแบบคริสเตียนในภายหลัง
การเริ่มต้นด้วย bios politikos (Βιος πολιτικος) ของอาเรนดท์จึงมีความส�าคัญของ
การปูเรื่องราวให้เห็นถึงลักษณะบางประการของชีวิตทางการเมืองในสังคมกรีกโบราณที่เธอน�ามาใช้เป็น
พื้นฐานในการสร้างทฤษฎีการเมืองของเธอต่อ กล่าวคืออาเรนดท์พยายามชี้ให้เห็นว่าค�าทั้งสองค�าที่อยู่
ในค�าว่า “ชีวการเมือง” ในความคิดแบบกรีกโบราณนั้นต่างก็บ่งชี้ถึงแนวความคิดเรื่องเสรีภาพด้วยกัน
ทั้งคู่ โดยค�าว่า “ชีวา” นี้บ่งชี้ถึงเสรีภาพจากการหลุดพ้นจากการใช้ชีวิตที่เชื่อมโยงกับความจ�าเป็นในชีวิต
ในขณะที่ “การเมือง” ก็บ่งชี้ให้เห็นถึงการมีเสรีภาพในการเข้าสู่พื้นที่แห่งความเท่าเทียม แนวคิดเรื่อง
เสรีภาพ จึงถือเป็นกรอบคิดความคิดที่ส�าคัญมากส�าหรับอาเรนดท์ในการสร้างทฤษฎีทางการเมืองของเธอ