Page 58 - kpiebook67011
P. 58
57
อาเรนดท์ชี้ให้เห็นว่าค�าว่าสังคมเป็นค�าที่ไม่มีใช้ในสังคมกรีกและเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสังคม
โรมันโบราณโดยให้ความหมายหลวม ๆ ของการรวมกลุ่มที่มีเป้าหมายเฉพาะหรือมีล�าดับของการปกครอง
กล่าวอีกนัยหนึ่งค�าว่าสังคม หรือค�าว่า societas ของคนโรมันในความเข้าใจของคนกรีกโบราณคือ
การรวมกลุ่มของคนโดยปราศจากนัยทางการเมือง และเป็นสิ่งที่ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากการรวมกลุ่ม
ของสัตว์เพื่อตอบสนองต่อความจ�าเป็นในทางชีวภาพ 90
ความแตกต่างและความขัดแย้งกันระหว่างพื้นที่ของครัวเรือนและรัฐนี้หมายถึงการที่ชาวกรีกโบราณ
มีความเข้าใจระหว่างความแตกต่างระหว่างชีวิตที่เป็นของตัวเอง (idion) และชีวิตที่ใช้ร่วมกันกับผู้อื่น
(koinon) ยามที่อยู่ในครัวเรือนเสรีชนเพศชายเหล่านี้ด�ารงอยู่ในฐานะของความเป็นเจ้านายผู้มีอ�านาจสูงสุด
91
เหนือผู้อื่น หากแต่เมื่อเขาก้าวเข้าสู่พื้นที่นครรัฐเขาจะกลายเป็นเพียงพลเมืองหนึ่งคนที่มีความเท่าเทียม
กับผู้อื่น และในพื้นที่ดังกล่าวนี้เองที่เขาจะได้รับชีวิตที่สองที่เหนือไปจากชีวิตส่วนตัวที่เขามีที่บ้าน และชีวิต
92
ที่สองนี้เองที่อาเรนดท์และอริสโตเติลเรียกมันว่าชีวการเมืองหรือ bios politikos (βιος πολιτικος)
กล่าวง่าย ๆ คือ ส�าหรับผู้ที่เป็นพลเมืองของรัฐแล้ว เขาย่อมมีชีวิตในสองลักษณะ การเข้าสู่พื้นที่ทางการเมือง
จึงเป็นเสมือนกับการก�าเนิดใหม่ของชีวิตในรูปแบบที่สอง ซึ่งในบรรดากิจกรรมทั้งหลายที่มนุษย์ได้กระท�านั้น
หากจะมองว่ากิจกรรมใดที่มีความเป็นการเมืองมากที่สุด ในความคิดของอาเรนดท์นั้นประกอบด้วย
สองกิจกรรม ได้แก่ การแสดงตนหรือการกระท�า (Πραξις- praxis- action) และการพจนาหรือการพูด
93
(λεξις – lexis-speech) ซึ่งถือเป็นพหุลักษณ์ (plurality) และทั้งสองกิจกรรมนี้เองที่ส�าหรับอริสโตเติลแล้ว
มันคือกิจกรรมที่น�ามนุษย์ไปสู่การพัฒนาตนที่สมบูรณ์
อนึ่งการมองว่าการพจนาคือสิ่งที่มีความเป็นการเมืองนี้ ไม่ได้วางอยู่บนความคิดที่ว่าความสามารถ
ในการพูดออกมาเป็นค�าหรือประโยคเป็นสิ่งบอกกล่าวถึงความสามารถในการเป็นมนุษย์การเมือง แต่อยู่บน
ความคิดที่ว่าการพูดหรือการใช้ภาษานั้นเกิดขึ้นบนพื้นที่ที่การพจนาเป็นสิ่งที่มีความหมาย แน่นอนว่า
94
ทาสและผู้ที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของทรราชย์อาจสามารถพูดเพื่อการสื่อสาร หากแต่ถ้อยค�าเหล่านั้น
หาได้มีความหมายหรือก่อให้เกิดประโยชน์โภชน์ผลอันใดส�าหรับพวกเขาเหล่านี้ ส�าหรับทาสแล้ว
เขาอาจบ่นว่าหรือต่อรองหากแต่สิ่งที่เขากล่าวออกนั้นย่อมมิอาจเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตที่เขาจะต้องท�า
หรืออาจแม้แต่จะน�าไปสู่การลงโทษโดยเจ้านายของเขาได้ เช่นเดียวกับพลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครอง
ของรัฐบาลที่เป็นทรราชย์ เขาเหล่านั้นอาจก่นด่าหรือวิพากษ์วิจารณ์การท�างานของรัฐบาลได้ หากแต่
ถ้อยค�าเหล่านั้นก็หาได้น�าไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตของพวกเขาเช่นกัน และพวกเขาก็อาจจะโดน
ลงโทษจากรัฐเช่นนั้นได้จากการใช้ค�าพูดของตนด้วย แต่ส�าหรับเสรีชนผู้เป็นพลเมืองแล้วถ้อยค�าของเขา
ล้วนเป็นสิ่งที่มีความหมายและอาจส่งผลไปสู่การตัดสินใจหรือการเปลี่ยนแปลง ในพื้นที่นครรัฐซึ่งการโต้เถียง
90 Ibid., 23–24.
91 Ibid., 24.
92 Ibid.
93 Ibid., 25.
94 Ibid., 27.