Page 63 - kpiebook67011
P. 63

62      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







             แต่ละคนเข้าไว้ด้วยกันจากสิ่งของหรือความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่แบ่งแยกมนุษย์

                                     104
             แต่ละคนให้ออกจากกันด้วย   ส�าหรับอาเรนดท์แล้วโลกที่ว่านี้จึงเป็นโลกที่มนุษย์ต่างมีร่วมกัน (common)
             และสร้างขึ้นมาร่วมกันอีกด้วย ไม่ใช่โลกที่ถูกสร้างไว้แล้วโดยสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ฝีมือมนุษย์หรือเป็นโลกที่เพียง

             ถูกสร้างไว้โดยคนอื่น


                      อย่างไรก็ดีแม้ว่าโลกนี้จะเป็นสิ่งที่มีร่วมกัน หรือหมายถึงสิ่งที่มนุษย์แต่ละคนต่างก็มีเหมือนกัน
             หากแต่ความมีร่วมกันหรือเหมือนกันนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าโลกที่ว่านี้จะต้องประกอบไปด้วยความเหมือนกัน
             ของธรรมชาติมนุษย์ที่สะท้อนออกมาให้เห็นผ่านมุมมองหรือความคิดที่เหมือนกันไปหมด แม้ว่ามนุษย์

             แต่ละคนต่างล้วนต้องเกี่ยวข้องกับวัตถุเดียวกันบนโลก หากแต่มุมมองที่มีต่อวัตถุที่เหมือนกันนั้น

             ย่อมแตกต่างไปตามสถานะหรือจุดยืนของแต่ละคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง มนุษย์แต่ละคนมีต�าแหน่งแห่งที่
             ที่แตกต่างกันไปบนโลก ต�าแหน่งแห่งที่ที่แตกต่างกันไปนี้ท�าให้มนุษย์ได้เห็นและได้ยินแตกต่างกันออกไป
             ซึ่งนั่นหมายถึงการที่มนุษย์แต่ละคนย่อมมีมุมมองต่อสิ่งเดียวกันที่แตกต่าง ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโลก

             จึงเป็นลักษณะของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจากผลรวมของมุมด้านต่างๆที่มีต่อสิ่งเดียวกันของผู้คน

             ที่อยู่ในฐานะของผู้ชมบนโลกใบดังกล่าวนั้น (Arendt, Canovan, and Allen 2018, 57) ส�าหรับ
             อาเรนดท์เมื่อใดก็ตามที่เรื่องราวหรือสิ่งต่าง ๆ ถูกมองเห็นจากมุมมองที่แตกต่างหลากหลายโดยผู้คน
             ที่รวมตัวกันอยู่รอบ ๆ ที่รับรู้ว่าตนมองเห็น “ความเหมือน” กันนี้ได้ในความหลากหลาย (diversity) ที่มีนี้

             นั่นจึงจะเรียกได้ว่า “ความเป็นจริง” ในทาง “โลก” นี้ได้ “ปรากฏ” ขึ้นอย่างแท้จริงและเชื่อถือได้

             (Arendt, Canovan, and Allen 2018, 57)


                      ดังนั้น ภายใต้เงื่อนไขของการมีโลกใบเดียวร่วมกันนี้ ความเป็นจริงจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากการที่
             มนุษย์มี “ธรรมชาติที่ร่วมกัน” หากแต่มาจากการที่พวกเขาเหล่านั้นต่างมีความแตกต่างในทางต�าแหน่ง
             แห่งที่ในโลกและมุมมองที่หลากหลาย (Arendt, Canovan, and Allen 2018, 57) ในโลกส่วนตัว

             ที่เรื่องราวของแต่ละคนล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกเห็นหรือได้ยินจากผู้อื่น มนุษย์ที่อยู่ในพื้นที่ส่วนตัวจึงเป็น

             มนุษย์ที่ประหนึ่งถูกจองจ�าให้อยู่ภายใต้ความเป็นอัตวิสัยของตนจากประสบการณ์อันเป็นเอกลักษณะนั้น
             และนั่นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมาชดเชยหรือทดแทนกับความเป็นจริงในโลกอันเกิดจากประสบการณ์
             อันเป็นพหุลักษณ์ได้ ส�าหรับอาเรนดท์แล้ว โลกที่มนุษย์ต่างมีร่วมกันนี้จึงหมดสิ้นสภาพของความเป็นโลก

             และไม่ถือเป็นพื้นที่ที่มนุษย์สร้างสรรค์ร่วมกันอีกต่อไปหากว่าโลกใบดังกล่าวถูกลดทอนความแตกต่าง

             หลากหลายลงให้เหลือเพียงการมีมุมมองเดียวกันไปเสียหมด เพราะนั่นคือการจองจ�ามนุษย์ให้อยู่ภายใต้
             ความเป็นเอกลักษณะเดียวดังเช่นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่หรือขอบเขตสาธารณะจึงไม่เพียงแต่มี
             เสรีภาพและความเสมอภาคเป็นเงื่อนไขพื้นฐาน หากแต่ยังมีความเป็นพหุลักษณ์เป็นเงื่อนไขที่ส�าคัญ

             ในอีกประการหนึ่งด้วย และสิ่งเหล่านี้เองที่เป็นตัวก�าหนดค�านิยามหรือความหมายของค�าว่าการเมือง

             ในความหมายของอาเรนดท์ซึ่งจะถูกกล่าวต่อไปในภายหลัง




             104   Ibid., 52.
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68